4.12.54

สวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)


บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ       
                                                                ๑.
คำขอขมา
          กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ มโนกรรม ๓  ที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้ล่วงเกินผู้มีพระคุณทั้งปวง  คุณพระพุทธเจ้า  คุณพระธรรม  คุณพระสงฆ์  คุณบิดามารดา  คุณครูอุปัชฌาย์อาจารย์  และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย  เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย  ที่ข้าพเจ้าได้ล่วงเกิน  ด้วยกายก็ดี  ด้วยวาจาก็ดี  ด้วยใจก็ดี  รู้ก่อนก็ดี  ไม่รู้ก่อนก็ดี  เจตนาก็ดี  ไม่เจตนาก็ดี  ต่อหน้ากันก็ดี  ลับหลังกันก็ดี  ขอผู้มีพระคุณทั้งปวงจงอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้า  ข้าพเจ้าจะสำรวมระวังต่อไป  อย่าได้มีเวรภัย  เกิดชาติหนึ่งภพใด  ขอให้สร้างแต่ความดี  สร้างบารมีของตนให้พ้นภัยพาล  ลุล่วงบ่วงมาร  ในปัจจุบันชาติด้วย  เทอญฯ.
     คำบูชาพระรัตนตรัย
โย  โส  ภะคะวา  อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ,
            พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น  พระองค์ใด,  เป็นพระอรหันต์,  ดับเพลิงกิเลส                                 
            เพลิงทุกข์สิ้นเชิง,  ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง,
อิเมหิ  สักกาเรหิ  ตัง  ภะคะวันตัง  อะภิปูชะยามิ  ฯ.
            ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง,  เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า  พระองค์นั้น,
              ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้  ฯ.
โย  โส  สวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม,
            พระธรรมนั้นใด  เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า  ได้ตรัสไว้ดีแล้ว,                                                                                                                                           
อิเมหิ  สักกาเรหิ  ตัง  ธัมมัง  อะภิปูชะยามิ  ฯ.
            ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง,  เฉพาะพระธรรมนั้นฯ.
              ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้  ฯ.
โย  โส  สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ,
            พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น  หมู่ใด,  ปฏิบัติดีแล้ว
อิเมหิ  สักกาเรหิ  ตัง  สังฆัง  อะภิปูชะยามิ  ฯ.
            ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง,  เฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น,
              ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้  ฯ.
บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                       ๒.
คำไหว้พระรัตนตรัย
อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  ภะคะวา,
           พระผู้มีพระภาคเจ้า,  เป็นพระอรหันต์,  ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง,
             ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง,
พุทธัง  ภะคะวันตัง  อะภิวาเทมิ ฯ
             ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า,  ผู้รู้  ผู้ตื่น  ผู้เบิกบาน ฯ  ( กราบ )
สะวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม,
             พระธรรม  เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า,  ได้ตรัสไว้ดีแล้ว,
ธัมมัง  นะมัสสามิ ฯ
             ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม ฯ ( กราบ )
สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ,
               พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า,  ปฏิบัติดีแล้ว,
สังฆัง  นะมามิ ฯ
              ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ ฯ  ( กราบ )

ปุพพภาคนมการ
( หันทะ  มะยัง  พุทธัสสะ  ภะคะวะโต  ปุพพะภาคะมะนะการัง  กะโรมะ  เส )

นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต,            ขอนอบน้อมแด่พระผู้มพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,
อะระหะโต,                                   ซึ่งเป็นผู้ไกลจกกิเลส,
สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ              ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง ฯ
                                                      ( ๓ ครั้ง )




บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                       
๑. พุทธาภิถุติ
( หันทะ  มะยัง  พุทธาภิถุติง  กะโรมะ  เส )
โย  โส  ตะถาคะโต,                         พระตถาคตเจ้านั้น,  พระองค์ใด,
อะระหัง,                           เป็นผู้ไกลจากกิเลส,
สัมมาสัมพุทโธ,                    เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง,
วิชชาจะระณะสัมปันโน,           เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ,
สุคะโต,                             เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี,
โลกะวิทู,                            เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง,
อะนุตตะโร  ปุริสะทัมมะสาระถิ,   เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใคร
                                                        ยิ่งกว่า,
สัตถา  เทวะมะนุสสานัง,            เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย,        
พุทโธ,                              เป็นผู้รู้  ผู้ตื่น  ผู้เบิกบาน  ด้วยธรรม,
ภะคะวา,                                          เป็นผู้มีความจำเริญ  จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์,
โย  อิมัง  โลกัง  สะเทวะกัง  สะมาระกัง  สะพรัหมะกัง  สัสสะมะณะพราหมะณิงปะชัง  สะเทวะมะนุสสัง  สะยัง  อะภิญญา  สัจฉิกัตตะวา  ปะเวเทสิ,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด,  ได้ทรงทำความดับทุกข์ให้แจ้ง,  ด้วยพระปัญญา    อันยิ่งเองแล้ว,  ทรงสอนโลกนี้พร้อมทั้งเทวดา, มาร,  พรหม,  และหมู่สัตว์,
พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์,  พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม,
โย  ธัมมัง  เทเสสิ,                          พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด,ทรงแสดงธรรมแล้ว
อาทิกัลยาณัง ,                                 ไพเราะในเบื้องต้น
มัชเณกัลยาณัง ,                              ไพเราะในท่ามกลาง
ปะริโยสานะกัลยาณัง,                     ไพเราะในที่สุด
สาตถัง  สะพะยัญชะนัง  เกวะละปะริปุณณัง  ปะริสุทธัง  พรัหมะจะริยัง  ปะกาเสสิ,
                  ทรงประกาศพรหมจรรย์  คือ  แบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐ, บริสุทธิ์  บริบูรณ์ สิ้นเชิง,  พร้อมทั้งอรรถะ ( คำอธิบาย ) พร้อมทั้งพยัญชนะ ( หัวข้อ )
บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                         ๔


ตะมะหัง  ภะคะวันตัง  อะภิปูชะยามิ,
                           ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง,  เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น   
ตะมะหัง  ภะคะวันตัง  สิระสา  นะมามิ ฯ
                           ข้าพเจ้านอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น, ด้วยเศียรเกล้า ฯ
( กราบระลึกถึง  พระพุทธคุณ )

๒. ธัมมาภิถุติ
( หันทะ  มะยัง  ธัมมาภิถุติง  กะโรมะ เส )

โย  โส  สะวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม,
                   พระธรรมนั้นใด,  เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า,  ได้ตรัสไว้ดีแล้ว,
สันทิฏฐิโก ,                                    เป็นธรรมที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ,พึงเห็นได้ด้วยตนเอง,
อะกาลิโก,                                      เป็นธรรมที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล,
เอหิปัสสิโก,                                   เป็นธรรมที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า,  ท่านจงมาดูเถิด,
โอปะนะยิโก,                                 เป็นธรรมที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว,
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ  วิญญูหิ,        เป็นธรรมที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน,  
ตะมะหัง  ธัมมัง  อะภิปูชะยามิ,
                           ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง,  เฉพาะพระธรรมนั้น   
ตะมะหัง  ธัมมัง  สิระสา  นะมามิ ฯ
                           ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมนั้น, ด้วยเศียรเกล้า ฯ
( กราบระลึกถึง  พระธรรมคุณ )


บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                       
๓. สังฆาภิถุติ
 ( หันทะ  มะยัง  สังฆาภิถุติง กะโรมะ  เส )
โย  โส  สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ,
            พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น  หมู่ใด,  ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ
            พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น  หมู่ใด,  ปฏิบัติตรงแล้ว               ญายะปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ,
            พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น  หมู่ใด,  ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรม
            เป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว,
สามีจิปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ,
            พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น  หมู่ใด,  ปฏิบัติสมควรแล้ว
ยะทิทัง,   ........      ได้แก่บุคคลเหล่านี้  คือ
จัตตาริ  ปุริสะยุคานิ  อัฏฐะ  ปุริสะบุคคลา
            คู่แห่งบุรุษ  ๔ คู่  นับเรียงตัวบุรุษได้    ๘  บุรุษ
เอสะ  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ
            นั่นแหละ  พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยโย......................เป็นพระสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
ปาหุเนยโย......................เป็นพระสงฆ์ควรแก่สักการที่เขาจัดไว้ตัอนรับ
ทักขิเณยโย......................เป็นพระสงฆ์ผู้ควรรับทักษิณาทาน
อัญชะลีกะระณีโย...........เป็นพระสงฆ์ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
อะนุตตะรัง  ปุญญักเขตตัง  โลกัสสะ
             เป็นเนื้อนาบุญของโลก,  ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.




บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                       
ตะมะหัง  สังฆัง  อะภิปูชะยามิ,
                           ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง,  เฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น   
ตะมะหัง  สังฆัง  สิระสา  นะมามิ ฯ
                           ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้น, ด้วยเศียรเกล้า ฯ
( กราบระลึกถึง  พระสังฆคุณ )
( นั่งพับเพียบ )
รตนัตตยัปปณามคาถา
( หันทะ  มะยัง  ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย  เจวะ
สังเวคะปะริกิตตะนะปาฐัญจะ  ภะณามะ  เส )

พุทโธ  สุสุทโธ  กะรุณามะหัณณะโว
            พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์,  มีพระกรุณาดุจห้วงมหรณพ
โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน
            พระองค์ใด,  มีตาคือญาณอันประเสริฐหมดจดถึงที่สุด
โลกัสสะ  ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก
            เป็นผู้ฆ่าเสียซึ่งบาป,  และอุปกิเลสของโลก
วันทามิ  พุทธัง  อะหะมาทะเรนะตัง
            ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น,  ด้วยใจเคารพเอื้อเฟื้อ
ธัมโม  ปะทีโป  วิยะ  ตัสสะ  สัตถุโน
            พระธรรมของพระศาสดา,  สว่างรุ่งเรืองเปรียบดวงประทีป
โย  มัคคะปากามะตะเภทะภินนะโก
            จำแนกประเภท,  คือมรรค  ผล  นิพพาน,  ส่วนใด
โลกุตตะโร  โย  จะ  ตะทัตถะทีปะโน
        ซึ่งเป็นตัวโลกุตตระ,  และส่วนใดที่ชี้แนวแห่งโลกุตตระนั้น


บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                  ๗ 
วันทามิ  ธัมมัง  อะหะมาทะเรนะตัง   
               ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น,  ด้วยใจเคารพเอื้อเฟื้อ
สังโฆ  สุเขตตาภะยะติเขตตะสัญญิโต
              พระสงฆ์เป็นนาบุญอันยิ่งใหญ่กว่านาบุญอันดีทั้งหลาย
โย  ทิฏฐะสันโต  สุคะตานุโพธะโก
              เป็นผู้เห็นพระนิพพาน,  ตรัสรู้ตามพระสุคต,  หมู่ใด
โลลัปปะหีโน  อะริโย  สุเมธะโส
             เป็นผู้ละกิเลสเครื่องโลเล,  เป็นพระอริยเจ้ามีปัญญาดี
วันทามิ  สังฆัง  อะหะมาทะเรนะตัง   
               ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น,  ด้วยใจเคารพเอื้อเฟื้อ
อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง,  วัถถุตตะยัง  วันทะยะตาภิสังขะตัง,  ปุญญัง  มะยา  ยัง  มะมะ  สัพพุปัททะวา,  มา  โหนตุ  เว  ตัสสะ  ปะภาวะสิทธิยา ฯ
              บุญใด  ที่ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งวัตถุสาม,  คือพระรัตนตรัยอันควรบูชายิ่งโดยส่วนเดียว,  ได้กระทำแล้วเป็นอย่างยิ่งเช่นนี้  นี้,  ขออุปัททวะ ( ความชั่ว ) ทั้งหลาย   จงอย่ามีแก่ข้าพเจ้าเลย,  ด้วยอำนาจและความสำเร็จ,  อันเกิดจากบุญนั้น ฯ
อิธะ  ตะถาคะโต  โลเก  อุปปันโน
              พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้ว,  ในโลกนี้
อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ
              เป็นผู้ไกลจากกิเลส,  ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง
ธัมโม  จะ  เทสิโต  นิยยานิโก
              และพระธรรมที่ทรงแสดง,  เป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์
อุปะสะมิโก  ปะรินิพพานิโก
              เป็นเครื่องสงบกิเลส,  เป็นไปเพื่อปรินิพพาน


บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                  
สัมโพธะคามี  สุคะตัปปะเวทิโต
            เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม,  เป็นธรรมที่พระสุคตประกาศ
มะยันตัง  ธัมมัง  สุตตวา  เอวัง  ชานามะ
            พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว,  จึงได้รู้อย่างนี้ว่า
ชาติปิ  ทุกขา..............แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์
ชะราปิ  ทุกขา..............แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์
มะระณัมปิ  ทุกขัง..............แม้ความตายก็เป็นทุกข์
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ  ทุกขา
            แม้ความโศก  ความร่ำไรรำพัน  ความไม่สบายกาย  ความไม่สบายใจ 
            ความคับแค้นใจ  ก็เป็นทุกข์
อัปปิเยหิ  สัมปะโยโค  ทุกโข
            ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็ป็นทุกข์
ปิเยหิ  วิปปะโยโค  ทุกโข
            ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์
ยัมปิจฉัง  นะ  ละภะติ  ตัมปิ  ทุกขัง
            มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น,  นั่นก็เป็นทุกข์
สังขิตเตนะ  ปัญจุปาทานักขันธา  ทุกขา
            ว่าโดยย่อ,  ความยึดมั่นในขันธ์ทั้ง  ๕  เป็นตัวทุกข์
เสยยะถีทัง.............................ได้แก่สิ่งเหล่านี้  คือ
รูปูปาทานักขันโธ...................ขันธ์  อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น  คือรูป
เวทะนูปาทานักขันโธ.............ขันธ์  อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น  คือความเสวย 
                                               อารมณ์  ที่เป็นสุข  ที่เป็นทุกข์,  ที่ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์
สัญญูปาทานักขันโธ...............ขันธ์  อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น  คือความจำ
สังขารูปาทานักขันโธ.............ขันธ์  อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น  คือความปรุงแต่ง
วิญญาณูปาทานักขันโธ..........ขันธ์  อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น  คือความรู้แจ้ง

บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                  
เยสัง  ปะริญญายะ                      เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้ความยึดมั่น  เหล่านี้เอง
ธะระมาโน  โส  ภะคะวา             จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น  เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่
เอวัง  พะหุลัง  สาวะเก  วิเนติ      ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย  เช่นนี้เป็นส่วนมาก
เอวังภาคา  จะ  ปะนัสสะ  ภะคะวะโต  สาวะเกสุ  อะนุสาสะนี,  พะหุลา  ปะวัตตะติ,
        อนึ่ง  คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น,  ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย, 
        ส่วนมาก,  มีส่วนคือการจำแนกอย่างนี้ว่า
รูปัง  อะนิจจัง                              รูปไม่เที่ยง
เวทะนา  อะนิจจา                         ความเสวยอารมณ์ไม่เที่ยง
สัญญา  อะนิจจา                           ความจำไม่เที่ยง
สังขารา  อะนิจจา                         ความปรุงแต่งไม่เที่ยง
วิญญาณัง  อะนิจจัง                      ความรู้แจ้งไม่เที่ยง
รูปัง  อะนัตตา                              รูปไม่ใช่ตัวตน
เวทะนา  อะนัตตา                ความเสวยอารมณ์ไม่ใช่ตัวตน
สัญญา  อะนัตตา                 ความจำไม่ใช่ตัวตน
สังขารา  อะนัตตา                ความปรุงแต่งไม่ใช่ตัวตน
วิญญาณัง  อะนัตตา              ความรู้แจ้งไม่ใช่ตัวตน
สัพเพ  สังขารา  อะนิจจา         ความปรุงแต่งทั้งหลายทั้วปวงไม่เที่ยง
สัพเพ  ธัมมา  อะนัตตาติ,        ธรรมทั้งหลายทั้งปวง,  ไม่ใช่ตัวตน
เต (ตา) มะยัง  โอติณณามะหะ...พวกเราทั้งหลาย,  เป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว
ชาติยา                            โดยความเกิด
ชะรามะระเณนะ                  ดาความแก่  และความตาย
โสเกหิ  ปะริเทเวหิ  ทุกเขหิ  โทมะนัสเสหิ  อุปายาเสหิ,
            โดยความโศก  ความร่ำไรรำพัน  ความไม่สบายกาย  ความไม่สบายใจ 
            ความคับแค้นใจทั้งหลาย


บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                  ๑๐
ทุกโขติณณา                เป็นผู้ถูกความทุกข์  หยั่งเอาแล้ว
ทุกขะปะเรตา              เป็นผู้มีความทุกข์  เป็นเบื้องหน้าแล้ว
อัปเปวะนามิมัสสะ  เกวะลัสสะ  ทุกขักขันธัสสะ  อันตะกิริยา  ปํญญาเยถาติ ฯ
                                     ทำไฉน?.  การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้,
                                     จะพึงปรากฏชัด , แก่เราได้ ฯ
( สำหรับภิกษุสามเณรสวด )
จิระปะรินิพพุตัมปิ  ตัง  ภะคะวันตัง  อุททิสสะ  อะระหันตัง  สัมมาสัมพุทธัง,
        เราทั้งหลาย  อุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า,  ผู้บริสุทธิ์หมดจดจากกิเลส,
        ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง,  แม้ปรินิพพานนานแล้ว  พระองค์นั้น,
สัทธา  อะคารัสสะมา  อะนะคาริยัง  ปัพพะชิตา
        เป็นผู้มีศรัทธา  ออกบวชจากเรือน  ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว
ตัสสะมิง  ภะคะวะติ  พรัหมะจะริยัง  จะรามะ
        ประพฤติอยู่ซึ่งพรหมจรรย์  ในพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ภิกขูนัง  สิกขาสาชีวะสะมาปันนา
        ถึงพร้อมด้วยสิกขาและธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิต  ของภิกษุทั้งหลาย
ตังโน    พรัหมะจะริยัง     อิมัสสะ   เกวะลัสสะ    ทุกขักขันธัสสะ    อันตะกิริยายะ    สังวัตตะตุ ฯ 
ขอให้พรหมจรรย์ของเราทั้งหลายนั้น,  จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุด                            แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้    เทอญ  ฯ




บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                  ๑๑
( สำหรับอุบาสก  อุบาสิกา )
จิระปะรินิพพุตัมปิ  ตัง  ภะคะวันตัง  สะระณัง  คะตา
         เราทั้งหลายผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า  แม้ปรินิพพานนานแล้ว  พระองค์นั้น 
         เป็นที่พึ่ง
ธัมมัญจะ  สังฆัญจะ
         ถึงพระธรรมด้วย,  ถึงพระสงฆ์ด้วย
ตัสสะ  ภะคะวะโต  สาสะนัง  ยะถาสะติ  ยะถาพะลัง  มะนะสิกะโรมะ
อะนุปะฏิปัชชามะ
         จักทำในใจอยู่  ปฏิบัติตามอยู่  ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
         ตามสติกำลัง
สา สา โน ปะฏิปัตติ
         ขอให้ความปฏิบัตินั้น ๆ  ของเราทั้งหลาย
อิมัสสะ   เกวะลัสสะ    ทุกขักขันธัสสะ    อันตะกิริยายะ    สังวัตตะตุ ฯ 
 จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุด   แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้    เทอญ  ฯ
*********************************************
( จบคำทำวัตรเช้า )


บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                  ๑๒
บทพิจารณาปัจจัย ๔
ตังขณิกปัจจเวกขณปาฐะ
( หันทะ  มะยัง  ตังขะณิกะปัจจะเวกขะณะปาฐัง  ภะณามะ  เส )
บทพิจารณาเครื่องนุ่งห่ม
ปะฏิสังขา  โยนิโส  จีวะรัง  ปะฏิเสวามิ
              เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงนุ่งห่มเครื่องนุ่งห่ม
ยาวะเทวะ  สีตัสสะ  ปะฏิฆาตายะ............เพียงเพื่อบำบัดความหนาว
อุณหัสสะ  ปะฏิฆาตายะ...........................เพื่อบำบัดความร้อน
ฑังสะมะกะตะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง  ปะฏิฆาตายะ
            เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ  ยุง  ลม  แดด  และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย
ยาวะเทวะ  หิริโกปินะ  ปะฏิจฉาทะนัตถัง
            และเพียงเพื่อปกปิดอวัยวะ  อันให้เกิดความละอาย
บทพิจารณาอาหาร

ปะฏิสังขา  โยนิโส  ปิณฑะปาตัง  ปะฏิเสวามิ
              เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วบริโภคอาหารบิณฑบาต
เนวะ  ทะวายะ....................ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน
นะ  มะทายะ.......................ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเมามัน  อันเกิดกำลังพลังทางกาย
นะ  มัณฑะนายะ................ไม่ให้เป็นไปเพื่อประดับ
นะ  วิภูสะนายะ..................ไม่ให้เป็นไปเพื่อตกแต่ง
ยาวะเทวะ  อิมัสสะ  กายัสสะ  ฐิติยา.....แต่ให้เป็นไปเพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้
ยาปะนายะ..........................เพื่อความเป็นไปได้ของอัตภาพ
วิหิงสุปะระติยา..................เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำบากทางกาย
พรัหมะจะริยานุคคะหายะ..................เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์


บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                  ๑๓
อิติ  ปุราณัญจะ  เวทะนัง  ปะฏิหังขามิ
           ด้วยการทำอย่างนี้  เราย่อมระงับเสียได้ซึ่งทุกขเวทนาเก่า  คือความหิว
นะวัญจะ  เวทะนัง  นะ  อุปปาเทสสามิ......และไม่ทำเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น
ยาตะรา  จะ  เม  ภะวิสสะติ  อะนะวัชชะตาจะ  ผาสุวิหาโร  จาติ ฯ
           อนึ่ง  ความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตภาพนี้ด้วย,  ความเป็นผู้หาโทษมิได้ด้วย,
           และความป็นอยู่โดยผาสุกด้วย,  จักมีแก่เรา  ดังนี้  ฯ
บทพิจารณาที่อยู่อาศัย
ปะฏิสังขา  โยนิโส  เสนาสะนัง  ปะฏิเสวามิ
              เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วใช้สอยที่อยู่อาศัย
ยาวะเทวะ  สีตัสสะ  ปะฏิฆาตายะ............เพียงเพื่อบำบัดความหนาว
อุณหัสสะ  ปะฏิฆาตายะ...........................เพื่อบำบัดความร้อน
ฑังสะมะกะตะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง  ปะฏิฆาตายะ
            เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ  ยุง  ลม  แดด  และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย
ยาวะเทวะ  อุตุปะริสสะยะวิโนทะนัง  ปะฏิสัลลานารามัตถัง
            เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายอันจะพึงมีจากดินฟ้าอากาศ,  และเพื่อความเป็นผู้ยินดี
            อยู่ได้ในที่หลีกเร้นสำหรับภาวนา.
บทพิจารณายารักษาโรค
ปะฏิสังขา  โยนิโส  คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขารัง  ปะฏิเสวามิ
            เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วบริโภคเครื่องใช้สอยคือยารักษาโรค,
        อันเป็นปัจจัยเกื้อกูลแก่คนไข้
ยาวะเทวะ  อุปปันนานัง  เวยยาพาธิกานัง  เวทะนานัง  ปะฏิฆาตายะ
            เพียงเพื่อบำบัดทุกขเวทนาอันบังเกิดขึ้นแล้ว,  มีอาพาธต่างๆ  เป็นมูล
อัพพะยาปัชฌะปะระมะตายาติ ฯ
            เพื่อความเป็นผู้ไม่มีโรคเบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง  ดังนี้ ฯ

บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                  ๑๔
ธาตุปฏิกูลปัจจเวกขณปาฐะ
( หันทะ  มะยัง  ธาตุปะฏิกูละปัจจะเวกขะณะปาฐัง  ภะณามะ  เส )
บทพิจารณาเครื่องนุ่งห่ม
ยะถาปัจจะยัง  ปะวัตตะมานัง  ธาตุมัตตะเมเวตัง
          สิ่งเหล่านี้เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติเท่านั้น 
          กำลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิตย์
ยะทิทัง  จีวะรัง  ตะทุปะภุญชะโก  จะ  ปุคคะโล
          สิ่งเหล่านี้  คือเครื่องนุ่งห่ม  และบุคคลผู้ใช้สอยเครื่องนุ่งห่มนั้น
ธาตุมัตตะโก...............เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ
นิสสัตโต.....................มิได้เป็นสัตวะอันยั่งยืน
นิชชีโว........................มิได้เป็นชีวะอันเป็นบุรุษบุคคล
สุญโญ........................ ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน
สัพพานิ  ปะนะ  อิมานิ  จีวะรานิ  อะชิคุจฉะนียานิ
          ก็เครื่องนุ่งห่มทั้งหมดนี้  ไม่เป็นของน่าเกลียดมาแต่เดิม
อิมัง  ปูติกายัง  ปัตตะวา
          ครั้นมาถูกเข้ากับกายอันเน่าอยู่เป็นนิจนี้แล้ว
อะติวิยะ  ชิคุจฉะนียานิ  ชายันติ ฯ
ย่อมกลายเป็นของน่าเกลียดอย่างยิ่งไปด้วยกัน ฯ
บทพิจารณาอาหาร
ยะถาปัจจะยัง  ปะวัตตะมานัง  ธาตุมัตตะเมเวตัง
          สิ่งเหล่านี้เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติเท่านั้น 
          กำลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิตย์
ยะทิทัง  ปิณฑะปาโต  ตะทุปะภุญชะโก  จะ  ปุคคะโล
          สิ่งเหล่านี้  คืออาหารบิณฑบาต  และบุคคลผู้บริโภคอาหารบิณฑบาตนั้น
ธาตุมัตตะโก...............เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ
บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                  ๑๕
นิสสัตโต.....................มิได้เป็นสัตวะอันยั่งยืน
นิชชีโว........................มิได้เป็นชีวะอันเป็นบุรุษบุคคล
สุญโญ........................ ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน
สัพโพ  ปะนายัง  ปิณฑะปาโต  อะชิคุจฉะนีโย
          ก็อาหารบิณฑบาตทั้งหมดนี้  ไม่เป็นของน่าเกลียดมาแต่เดิม
อิมัง  ปูติกายัง  ปัตตะวา
          ครั้นมาถูกเข้ากับกายอันเน่าอยู่เป็นนิจนี้แล้ว
อะติวิยะ  ชิคุจฉะนีโย  ชายะติ ฯ
ย่อมกลายเป็นของน่าเกลียดอย่างยิ่งไปด้วยกัน ฯ
บทพิจารณาที่อยู่อาศัย
ยะถาปัจจะยัง  ปะวัตตะมานัง  ธาตุมัตตะเมเวตัง
          สิ่งเหล่านี้เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติเท่านั้น 
          กำลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิตย์
ยะทิทัง  เสนาสะนัง  ตะทุปะภุญชะโก  จะ  ปุคคะโล
          สิ่งเหล่านี้  คือที่อยู่อาศัย  และบุคคลผู้ใช้สอยที่อยู่อาศัยนั้น
ธาตุมัตตะโก...............เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ
นิสสัตโต.....................มิได้เป็นสัตวะอันยั่งยืน
นิชชีโว........................มิได้เป็นชีวะอันเป็นบุรุษบุคคล
สุญโญ........................ ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน
สัพพานิ  ปะนะ  อิมานิ    อะชิคุจฉะนียานิ
          ก็ที่อยู่อาศัยทั้งหมดนี้  ไม่เป็นของน่าเกลียดมาแต่เดิม
อิมัง  ปูติกายัง  ปัตตะวา
          ครั้นมาถูกเข้ากับกายอันเน่าอยู่เป็นนิจนี้แล้ว
อะติวิยะ  ชิคุจฉะนียานิ  ชายันติ ฯ
ย่อมกลายเป็นของน่าเกลียดอย่างยิ่งไปด้วยกัน ฯ
บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                  ๑๖
บทพิจารณายารักษาโรค
ยะถาปัจจะยัง  ปะวัตตะมานัง  ธาตุมัตตะเมเวตัง
          สิ่งเหล่านี้เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติเท่านั้น 
          กำลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิตย์
ยะทิทัง  คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขาโร  ตะทุปะภุญชะโก  จะ  ปุคคะโล
          สิ่งเหล่านี้  คือเครื่องใช้สอยเป็นยารักษาโรคอันเป็นปัจจัยเกื้อกูลแก่คนไข้ 
          และบุคคลผู้ใช้สอยยารักษาโรคนี้
ธาตุมัตตะโก...............เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ
นิสสัตโต.....................มิได้เป็นสัตวะอันยั่งยืน
นิชชีโว........................มิได้เป็นชีวะอันเป็นบุรุษบุคคล
สุญโญ........................ ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน
สัพโพ  ปะนายัง  คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขาโร   อะชิคุจฉะนีโย
ก็เครื่องใช้สอยเป็นยารักษาโรคอันเป็นปัจจัยเกื้อกูลแก่คนไข้ทั้งหมดนี้
         ไม่เป็นของน่าเกลียดมาแต่เดิม

อิมัง  ปูติกายัง  ปัตตะวา
          ครั้นมาถูกเข้ากับกายอันเน่าอยู่เป็นนิจนี้แล้ว
อะติวิยะ  ชิคุจฉะนีโย ชายะติ ฯ
ย่อมกลายเป็นของน่าเกลียดอย่างยิ่งไปด้วยกัน ฯ








บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                             ๑๗
กรวดน้ำตอนเช้า
ปัตติทานคาถา
( หันทะ  มะยัง  ปัตติทานะคาถาโย  ภะณามะ  เส )
ยา  เทวะตา  สันติวิหาระวาสินี
          เทวดาเหล่าใด  ที่อยู่ประจำในวัด
ถูเป  ฆะเร  โพธิฆะเร  ตะหิง  ตะหิง
          สิงสถิตอยู่ที่เรือนสถูป  ที่ต้นพระศรีมหาโพธิ์และที่นั้น ๆ
ตา  ธัมมะทาเนนะ  ภะวันตุ  ปูชิตา
          เทวดาเหล่านั้นเป็นผู้ที่เราบูชาด้วยธรรมทาน
โสตถิง  กะโรนเตธะ  วิหาระมัณฑธเร
          ขอจงทำความสวัสดีให้เกิดมีในบริเวณวัดนี้
เถรา  จะ  มัชฌา  นะวะกา  จะ  ภิกขะโว
          ภิกษุทั้งหลายที่เป็นพระเถระ  เป็นมัชฌิมะ  เป็นนวกะ
สารามิกา  ทานะปะตี  อุปาสกา
          ชาววัดอุบาสกอุบาสิกาผู้เป็นทานบดี
คามา  จะ  เทสา  นิคะมา  จะ  อิสสะรา
          ชาวบ้าน  ชาวนิคม  ชาวประเทศและผู้เป็นใหญ่ทั้งหลาย
สัปปนณะภูตา  สุขิตา  ภะวันตุ  เต
          ขอให้ผู้มีชีวิตเหล่านั้นจงมีความสุข
ชะลาพุชา  เยปิ  จะ  อัณฑะสัมภะวา,  สังเสทะชาตา  อะถะโวประปาติกา
          สัตว์ทั้งหลายที่เกิดในครรภ์,  เกิดในไข่,  เกิดในไคล, 
          เกิดเป็นพรหม  เทวดา  เปรต  อสุรกาย  และเกิดในนรก
นิยยานิกัง  ธัมมะวะรัง  ปะฏิจจะ  เต 
          จงอาศัยธรรมอันประเสริฐ  เป็นทางนำออกจากทุกข์

บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                  ๑๘
สัพเพปิ  ทุกขัสสะ  กะโรนตุ  สังขะยัง
          สัตว์ทั้งหลาย,  จงทำความสิ้นไปแห่งกองทุกข์ทั้งปวง
ฐาตุ  จิรัง  สะตัง  ธัมโม
          ขอพระธรรมของสัตบุรุษ,  จงดำรงอยู่ตลอดกาลนาน
ธัมมัทธะรา  จะ  ปุคคะลา
          ขอบุคคลทั้งหลาย,  ผู้ทรงไว้ซึ่งความเป็นธรรมจงมีอายุยืน
สังโฆ  โหตุ  สะมัคโควะ
          ขอพระสงฆ์จงมีความพร้อมเพรียงกัน
อัตถายะ  จะ  หิตายะ  จะ 
          เพื่อประกอบสิ่งอันเป็นประโยชน์,  และความเกื้อกูล
อัมเห  รักขะตุ  สัทธัมโม,  สัพเพปิ  ธัมมะจาริโน
          ขอพระสัทธรรมจงรักษาเราทั้งหลาย,  ผู้ประพฤติธรรมทั้งปวง
วุฑฒิง  สัมปาปุเณยยามะ,  ธัมเม  อะริยัปปะเวทิเต
          ขอให้เราทั้งหลาย,  พึงประสบความเจริญในพระธรรมวินัย
          ที่พระอริยะเจ้าประกาศไว้แล้ว
ปะสันนา  โหนตุ  สัพเพปิ  ปาณิโน,  พุทธสาสะเน
          ขอสรรพสัตว์ทั้งปวง,  จงเป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
สัมมา  ธารัง  ปะเวจฉันโต,  กาเล  เทโว  ปะวัสสะตุ
          ขอฝนเมื่อจะหลั่งลงมา,  จงตกต้องตามฤดูกาล
วุฑฒิภาวายะ  สัตตานัง  สะมิทธัง  เนตุ  เมทะนิง
          ขอฝนจงนำความสำเร็จมาสู่แผ่นดิน,  เพื่อความเจริญแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย
มาตา  ปิตา  จะ  อัตตะระชัง  นิจจัง  รักขันติ  ปุตตะกัง
          มารดาและบิดาย่อมรักษาบุตรที่เกิดในตนเป็นนิจ  ฉันใด
เอวัง  ธัมเมนะ  ราชาโน  ปะชัง  รักขันตุ  สัพพะทาฯ
          ขอพระราชา,  จงปกครองประชาชนโดยธรรมในกาลทุกเมื่อฉันนั้น  เทอญ ฯ

บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                  ๑๙
สัพพปัตติทานคาถา
( หันทะ  มะยัง  สัพพะปัตติทานะคาถาโย  ภะณามะ  เส )
ปุญญัสสิทานิ  กะตัสสะ                                      ยานัญญานิ  กะตานิ  เม 
เตสัญจะ  ภาคิโน  โหนตุ                                     สัตตานันตาปปะมาณะกา
          สัตว์ทั้งหลาย  ไม่มีที่สุด  ไม่มีประมาณ  จงมีส่วนแห่งบุญที่ข้าพเจ้า
          ได้ทำในบัดนี้  และแห่งบุญอื่นที่ได้ทำไว้ก่อนแล้ว
เย  ปิยา  คุณะวันตา  จะ                                      มัยหัง  มาตาปิตาทะโย
ทิฏฐา  เม  จาปะยะทิฏฐา  วา                              อัญเญ  มัชฌัตตะเวริโน
          คือจะเป็นสัตว์เหล่าใด,  ซึ่งเป็นที่รักใคร่และมีบุญคุณ  เช่นมารดาบิดา
          ของข้าพเจ้าเป็นต้นก็ดี,  ที่ข้าพเจ้าเห็นแล้ว,  หรือไม่ได้เห็นก็ดี,  สัตว์เหล่าอื่น
          ที่เป็นกลางๆ  หรือเป็นคู่เวรกันก็ดี
สัตตา  ติฏฐันติ  โลกัสสะมิง                               เต  ภุมมา  จะตุโยนิกา
ปัยเจกะจะตุโวการา                                            สังสะรันตา  ภะวาภะเว
          สัตว์ทั้งหลาย  ตั้งอยู่ในโลก,  อยู่ในภูมิทั้งสาม  คือ  กามาวจรภูมิ  สภาวะ                   
          ของสัตว์ผู้ยังติดใจอยู่ในรูป,  เสียง,  กลิ่น,  รส,  การถูกต้อง,  รูปาวจรภูมิ  
          สภาวะของสัตว์ผู้ยังติดใจอยู่ในรูปฌาน,  อรูปาวจรภูมิ  สภาวะของสัตว์    
          ผู้ยังติดใจอยู่ในอรูปฌาน,  อยู่ในกำเนิดทั้งสี่  คือ  ชลาพุชะกำเนิด  เกิดในครรภ์,
          อัณฑะชะกำเนิด  เกิดในไข่,  สังเสฑะชะกำเนิด  เกิดในของเน่า,  โอปปาติกะ-
          กำเนิด  ผุดเกิดขึ้นเอง,  มีขันธ์ ห้า ขันธ์  คือ  รูป,  เวทนา,  สัญญา,  สังขาร,
          วิญญาณ,  มีขันธ์  ขันธ์เดียว  คือ  รูปขันธ์,  มีขันธ์  สี่ขันธ์  คือ  เวทนาขันธ์,
          สัญญาขันธ์,  สังขารขันธ์,  วิญญาณขันธ์,  กำลังท่องเที่ยว  อยู่ในภพน้อย
          ภพใหญ่  ก็ดี


   

บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                  ๒๐
ญาตัง  เย  ปัตติทานัมเม                                อะนุโมทันตุ  เต  สะยัง
เย  จิมัง  นัปปะชานันติ                                  เทวา  เตสัง  นิเวทะยุง
          สัตว์เหล่าใด,  รู้ส่วนบุญที่ข้าพเจ้าแผ่ให้แล้ว,  สัตว์เหล่านั้น  จงอนุโมทนา
          เองเถิด  ส่วนสัตว์เหล่าใด,  ยังไม่รู้ส่วนบุญนี้,  ขอเทวดาทั้งหลาย,  จงบอก
          สัตว์เหล่านั้นให้รู้
มะยา  ทินนานะ  ปุญญานัง                           อะนุโมทะนะเหตุนา
สัพเพ  สัตตา  สะทา  โหนตุ                           อะเวรา  สุขะชีวิโน
เขมัปปะทัญจะ  ปัปโปนตุ                              เตสาสา  สิชฌะตัง  สุภา ฯ
          เพราะเหตุที่ได้อนุโมทนาส่วนบุญที่ข้าพเจ้าแผ่ให้แล้ว,  สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง,
          จงเป็นผู้ไม่มีเวรอยู่เป็นสุขทุกเมื่อ,  จงถึงที่พ้นภัย  กล่าวคือ  พระนิพพาน,
          ความปรารถนาที่ดีงามของสัตว์เหล่านั้น  จงสำเร็จเถิด  ฯ
ปัญจอภิณหปัจจเวกขณ์
( หันทะ  มะยัง  อะภิณหะปัจจะเวกขะณะปาฐัง ภะณามะ  เส )
ชะราธัมโมมหิ  ชะรัง  อะนะตีโต (ตา ) 
          เรามีความแก่เป็นธรรมดา,  จะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้
พะยาธิธัมโมมหิ  พะยาธิง อะนะตีโต (ตา ) 
          เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา,  จะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปไม่ได้
มะระณะธัมโมมหิ  มะระณัง  อะนะตีโต (ตา ) 
          เรามีความตายเป็นธรรมดา,  จะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้
สัพเพหิ  เม  ปิเยหิ  มะนาเปหิ  นานาภาโว  วินาภาโว
          เราจะละเว้นเป็นต่างๆ  คือว่า,  เราจักต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจ
          ทั้งหลายทั้งปวง
กัมมัสสะโกมหิ.........................เรามีกรรมคือการกระทำเป็นของๆตน
กัมมะทายาโท...........................เราจักต้องเป็นผู้รับผลของการกระทำนั้น
กัมมะโยนิ.................................เรามีการกระทำเป็นแดนเกิด
บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                  ๒๑
กัมมะพันธุ...............................เรามีการกระทำเป็นเผ่าพันธุ์
กัมมะปะฏิสะระโณ..................เรามีการกระทำเป็นที่พึ่งอาศัย
ยัง  กัมมัง  กะริสสามิ...............เราทำกรรมอันใดไว้
กัลยาณัง  วา  ปาปะกัง  วา........เป็นการกระทำดีก็ตาม,เป็นการกระทำชั่วก็ตาม
ตัสสะ  ทายาโท  ภะวิสสามิ.......เราจักต้องเป็นผู้รับผลแห่งการกระทำนั้น
เอวัง  อัมเหหิ  อะภิณหัง  ปัจจะเวกิตัพพัง ฯ
เราทั้งหลาย,  พึงพิจารณาเนือง ๆ  อย่างนี้แล ฯ
บทพิจารณาสังขาร
( หันทะ  มะยัง  สังขาราปัจจะเวกขะณะปาฐัง  ภะณามะ  เส )
สัพเพ  สังขารา  อนิจจา
          สังขารคือร่างกาย  จิตใจ,  แลรูปธรรม  นามธรรม  ทั้งหมดทั้งสิ้น,
          มันไม่เที่ยง,  เกิดขึ้นแล้วดับไป  มีแล้วหายไป
สัพเพ  สังขารา  ทุกขา
          สังขารคือร่างกาย  จิตใจ,  แลรูปธรรม  นามธรรม  ทั้งหมดทั้งสิ้น,
          มันเป็นทุกข์ทนยาก,  เพราะเกิดขึ้นแล้ว,  แก่  เจ็บ  ตายไป
สัพเพ  ธัมมา  อนัตตา
          สิ่งทั้งหลายทั้งปวง,  ทั้งที่เป็นสังขารและมิใช่สังขาร ทั้งหมดทั้งสิ้น
          ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน,  ไม่ควรถือว่าเรา,  ว่าของเรา,  ว่าตัวว่าตนของเรา
อะธุวัง  ชีวิตัง.........................................ชีวิตเป็นของไม่ยั่งยืน
ธุวัง  มะระณัง..........................................ความตายเป็นของยั่งยืน
อะวัสสัง  มะยา  มะริตัพพัง.....................อันเราจะพึงตายเป็นแน่แท้
มะระณะปะริโยสานัง  เม  ชีวิตัง..............ชีวิตของเรา  มีความตายเป็นที่สุดรอบ
ชีวิตัง  เม  อะนิยะตัง................................ชีวิตของเรา  เป็นของไม่เที่ยง
มะระณัง  เม  นิยะตัง................................ความตายของเรา  เป็นของเที่ยง
วะตะ........................................................ควรที่จะสังเวช
บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                 ๒๒
อะยัง  กาโย..............................................ร่างกายนี้
อะจิรัง......................................................มิได้ตั้งอยู่นาน
อะเปตะวิญญาโณ.....................................ครั้นปราศจากวิญญาณ
ฉุฑโฑ.......................................................อันเขาทิ้งเสียแล้ว
อะธิเสสสะติ.............................................จักนอนทับ
ปะฐะวิง....................................................ซึ่งแผ่นดิน
กะลิงคะรัง  อิวะ.......................................ประดุจดังว่าท่อนไม้และท่อนฟืน
นิรัตถัง......................................................หาประโยชน์มิได้
อะนิจจา  วะตะ  สังขารา...........................ความปรุงแต่งทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ
อุปปาทะวะยะธัมมิโน..........................มีความเกิดขึ้นแล้วมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
อุปปัชชิตตะวา  นิรุชฌันติ.........................ครั้นเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
เตสัง  วูปะสะโม  สุโข  ฯ......................ความเข้าไปสงบระงับความปรุงแต่งทั้งหลาย-
เหล่านั้น  เป็นสุขอย่างยิ่ง  ดังนี้  ฯ
บทเจริญอัปปมัญญาพรหมวิหาร
( หันทะ  มะยัง  เมตตาผะระ  กะโรมะ  เส )
อะหัง  สุขิโต  โหมิ.............................ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความสุข
นิททุกโข  โหมิ...................................จงเป็นผู้ไม่มีความทุกข์
อะเวโร  โหมิ......................................จงเป็นผู้ไม่มีเวร
อัพพะยาปัชโฌ  โหมิ..........................จงเป็นผู้ไม่มีความเบียดเบียนซึ่งกันและกัน
อะนีโฆ  โหมิ......................................จงเป็นผู้ไม่มีความทุกข์กายทุกข์ใจ
สุขี  อัตตานัง  ปะริหะรามิ.................ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข,  รักษาตนอยู่เถิด
สัพเพ  สัตตา  สุขิตา  โหนตุ.........ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง,  จงเป็นผู้มีความสุข
สัพเพ  สัตตา  อะเวรา  โหนตุ.........ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง,  จงเป็นผู้ไม่มีเวร
สัพเพ  สัตตา  อัพพะยาปัชฌา  โหนตุ.........ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง, จงเป็นผู้ไม่มี
                                                                    ความเบียดเบียนซึ่งกันและกัน
บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                 ๒๓
สัพเพ  สัตตา  อะนีฆา  โหนตุ.........ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง,  จงเป็นผู้ไม่มี
                                         ความความทุกข์กายทุกข์ใจ
สัพเพ  สัตตา  สุขี  อัตตานัง  ปะริหะรันตุ.........ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง, 
                                                                           จงรักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด
สัพเพ  สัตตา  สัพพะทุกขา  ปะมุญจันตุ...........ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง,
                                                                           จงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงเถิด
สัพเพ  สัตตา  ลัทธะสัมปัตติโต  มา  วิคัจฉันตุ
      ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง,  จงอย่าได้พลัดพรากจากสมบัติอันตนได้แล้วเถิด
สัพเพ  สัตตา  กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา,กัมมะโยนี  กัมมะพันธุ  กัมมะปะฏิสาระณา
          สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง,มีกรรมคือการกระทำเป็นของๆตน,จักต้องเป็นผู้รับผล    
          ของการกระทำนั้น,  มีการกระทำเป็นแดนเกิด,  มีการกระทำเป็นเผ่าพันธุ์,
          มีการกระทำเป็นที่พึ่งอาศัย
ยัง  กัมมัง  กะริสสันติ  กัลยาณัง  วา  ปาปะกัง  วา,  ตัสสะ  ทายาทา ภะวิสสันติ
          จักทำกรรมอันใดไว้,  เป็นการกระทำดีก็ตาม  ,เป็นการกระทำชั่วก็ตาม
          จักต้องเป็นผู้รับผลของการกระทำนั้นๆ  สืบไป ฯ
คำวันทา

       อุกาสะ  วันทามิ  ภันเต เจติยัง  สัพพัง  สัพพัตถะ  ฐาเน  สุปะติฏฐิตัง  สารี-
ริกะธาตุ  มะหาโพธิง  พุทธะรูปัง  สะกะลัง  สะทา  กายะสา  วาจะสา  มะนะสา          เจวะ  วันทา  เม  เต  ตะถาคะเต  สะยะเน  อาสะเน  ฐาเน  คะมะเน  จาปิ  สัพพะทา,
         อุกาสะ  วันทามิ  ภันเต  สัพพัง  อะปะราธัง  ขะมะถะ  เม  ภันเต  มะยา  กะตัง
ปุญญัง  สามินา  อะนุโมทิตัพพัง  สามินา  กะตัง  ปุญญัง  มัยหัง  ทาตัพพัง, 
สาธุ  สาธุ  สาธุ  อะนุโมทามิ  ฯ 


บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                 ๒๔
ทำวัตรเย็น
คำบูชาพระรัตนตรัย
โย  โส  ภะคะวา  อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ,
            พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น  พระองค์ใด,  เป็นพระอรหันต์,  ดับเพลิงกิเลส                                  
            เพลิงทุกข์สิ้นเชิง,  ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง,
อิเมหิ  สักกาเรหิ  ตัง  ภะคะวันตัง  อะภิปูชะยามิ  ฯ.
            ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง,  เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า  พระองค์นั้น,
              ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้  ฯ.
โย  โส  สวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม,
            พระธรรมนั้นใด  เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า  ได้ตรัสไว้ดีแล้ว,                                                                                                                                          
อิเมหิ  สักกาเรหิ  ตัง  ธัมมัง  อะภิปูชะยามิ  ฯ.
            ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง,  เฉพาะพระธรรมนั้นฯ.
              ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้  ฯ.
โย  โส  สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ,
            พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น  หมู่ใด,  ปฏิบัติดีแล้ว
อิเมหิ  สักกาเรหิ  ตัง  สังฆัง  อะภิปูชะยามิ  ฯ.
            ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง,  เฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น,
              ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้  ฯ.
............................................................................................................................







บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                 ๒๕

คำไหว้พระรัตนตรัย
อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  ภะคะวา,
           พระผู้มีพระภาคเจ้า,  เป็นพระอรหันต์,  ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง,
             ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง,
พุทธัง  ภะคะวันตัง  อะภิวาเทมิ ฯ
             ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า,  ผู้รู้  ผู้ตื่น  ผู้เบิกบาน ฯ  ( กราบ )
สะวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม,
             พระธรรม  เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า,  ได้ตรัสไว้ดีแล้ว,
ธัมมัง  นะมัสสามิ ฯ
             ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม ฯ ( กราบ )
สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ,
               พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า,  ปฏิบัติดีแล้ว,
สังฆัง  นะมามิ ฯ
              ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ ฯ  ( กราบ )


ปุพพภาคนมการ
( หันทะ  มะยัง  พุทธัสสะ  ภะคะวะโต  ปุพพะภาคะมะนะการัง  กะโรมะ  เส )

นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต,            ขอนอบน้อมแด่พระผู้มพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,
อะระหะโต,                                   ซึ่งเป็นผู้ไกลจกกิเลส,
สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ              ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง ฯ
                                                      ( ๓ ครั้ง )

บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                 ๒๖
พุทธานุสสติ
( หันทะ  มะยัง  พุทธานุสสตินะยัง  กะโรมะ  เส )
ตัง  โข  ปะนะ  ภะคะวันตัง  เอวัง  กัลยาโน  กิตติสัทโท  อัพภุคคะโต,
       ก็กิตติศัพท์อันงามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น  ได้ฟุ้งไปแล้วอย่างนี้ว่า,
 อิติปิ  โส   ภะคะวา.................เพราะเหตุอย่างนี้ๆ  พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
อะระหัง..................................เป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทโธ.......................เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง
วิชชาจะระณะสัมปันโน..........เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
สุคะโต.....................................เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
โลกะวิทู...................................เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
อนุตตะโร  ปุริสะธัมมะสาระถิ...เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้
                                                   อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
สัตถา  เทวะมนุสสานัง...............เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทโธ..........................................เป็นผู้รู้  ผู้ตื่น  ผู้เบิกบาน  ด้วยธรรม
ภะคะวาติ....................................เป็นผู้มีความจำเริญ  จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์  ดังนี้
พุทธาภิคีติ
( หันทะ  มะยัง  พุทธาภิคีติง  กะโรมะ  เส  )
พุทธะวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต
          พระพุทธเจ้าประกอบด้วยคุณ,  มีความประเสริฐแห่งอรหันตคุณ  เป็นต้น
สุทธาภิ  ญาณะกะรุณาหิ  สะมาคะตัตโต
          มีพระองค์อันประกอบด้วยพระญาณ,  และพระกรุณาอันบริสุทธิ์
                
โพเธสิ  โย  สุชะนะตัง  กะมะลังวะ  สูโร
          พระองค์ใด,  ทรงกระทำชนที่ดีให้เบิกบาน,  ดุจอาทิตย์ทำบัวให้บาน
 
บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                 ๒๗
วันทามะหัง  ตะมะระนัง  สิระสา  ชิเนนทัง
          ข้าพเจ้าไหว้พระชินสีห์,  ผู้ไม่มีกิเลส  พระองค์นั้น,  ด้วยเศียรเกล้า
พุทโธ  โย  สัพพะปาณีนัง  สะระณัง  เขมะมุตตะมัง
          พระพุทธเจ้าพระองค์ใด,  เป็นที่พึ่งอันพ้นภัยสูงสุด,  ของสัตว์ทั้งหลาย
ปะฐะมานุสสะติฏฐานัง  วันทามิ  ตัง  สิเรนะหัง
          ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น,   อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่หนึ่ง
          ด้วยเศียรเกล้า
พุทธัสสาหัสสะมิ  ทาโส (ทาสี)  วะ  พุทโธ  เม  สามิกิสสะโร
       ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า,  พระพุทธเจ้าเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า
พุทโธ  ทุกขัสสะ  ฆาตา  จะ  วิธาตา  จะ  หิตัสสะ  เม
          พระพุทธเจ้าเป็นเครื่องกำจัดทุกข์,  และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า
พุทธัสสาหัง  นิยยาเทมิ  สะรีรัญชีวิตัญจิทัง
          ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้  แด่พระพุทธเจ้า
วันทันโตหัง (ตีหัง )  จะริสสามิ  พุทธัสเสวะ  สุโพธิตัง
          ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม,  ซึ่งความตรัสรู้ดีของพระพุทธเจ้า
นัตถิ  เม  สะระณัง  อัญญัง  พุทโธ  เม  สะระณัง  วะรัง
          ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี,  พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ  วัฑเฒยยัง  สัตถุสาสเน
          ด้วยการกล่าวคำสัจจ์นี้,  ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา
พุทธัง  เม  วันทะมาเนนะ  (มานายะ)  ยัง  ปุญญัง  ปะสุตัง  อิธะ
          ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระพุทธเจ้า,  ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้
สัพเพปิ  อันตะรายา  เม  มาเหสุง  ตัสสะ  เตชะสา  ฯ
          อันตรายทั้งปวงอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า,  ด้วยเดชแห่งบุญนั้น  ฯ

( หมอบกราบ )

บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                 ๒๘
กาเยนะ  วาจายะ  วะ  เจตะสา  วา
          ด้วยกายก็ดี  ด้วยวาจาก็ดี  ด้วยใจก็ดี
พุทเธ  กุกัมมัง  ปะกะตัง  มะยา  ยัง
       กรรมน่าติเตียนอันใด,  ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระพุทธเจ้า
พุทโธ  ปะฏิคคัณหะตุ  อัจจะยันตัง
          ขอพระพุทธเจ้า  จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น
กาลันตะเร  สังวะริตุง  วะ  พุทเธ  ฯ
       เพื่อการสำรวมระวัง,  ในพระพุทธเจ้าในกาลต่อไป  ฯ
ธัมมานุสสะติ
( หันทะ  มะยัง  ธัมมานุสสะตินะยัง  กะโรมะ  เส  )
สวากขาโต  ภะคะตา  ธัมโม
          พระธรรมนั้นใด,  เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า,  ตรัสไว้ดีแล้ว
สันทิฏฐิโก..................................เป็นธรรมที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ,  พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
อะกาลิโก....................................เป็นธรรมที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เอหิปัสสิโก.................................เป็นธรรมที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า,  ท่านจงมาดูเถิด
โอปะนะยิโก...............................เป็นธรรมที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
ปัจจัตตัง  เวทิตัพโพ  วิญญหี  ติ  ฯ....เป็นธรรมที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน,  ดังนี้ ฯ
ธัมมาภิคีติ
( หันทะ  มะยัง  ธัมมาภิคีติง  กะโรมะ  เส )
สะวากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ  เสยโย
          พระธรรมเป็นสิ่งที่ประเสริฐเพราะประกอบด้วยคุณ
          คือความที่พระผู้มีพระภาคเจ้า,  ตรัสไว้ดีแล้ว  เป็นต้น
โย  มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะเภโท
          เป็นธรรมอันจำแนกเป็น  มรรค  ผล  ปริยัติและนิพพาน

บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                 ๒๙
ธัมโม  กุโลกะปะตะนา  ตะทะธาริธารี
          เป็นธรรมทรงไว้ซึ่งผู้ทรงธรรม,  จากการตกไปสู่โลกที่ชั่ว
วันทามะหัง  ตะมะหะรัง  วะระธัมมะเมตัง
          ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมอันประเสริฐนั้น,  อันเป็นเครื่องขจัดเสียซึ่งความมืด
ธัมโม  โย  สัพพะปาณีนัง  สะระณัง  เขมะมุตตะมัง
          พระธรรมใด,  เป็นที่พึ่งอันพ้นภัยสูงสุด,  ของสัตว์ทั้งหลาย
ทุติยานุสสะติฏฐานัง  วันทามิ  ตัง  สิเรนะหัง
          ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น,   อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่สอง
          ด้วยเศียรเกล้า
ธัมมัสสาหัสสะมิ  ทาโส (ทาสี)  วะ  ธัมโม  เม  สามิกิสสะโร
       ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระธรรม,  พระธรรมเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า
ธัมโม  ทุกขัสสะ  ฆาตา  จะ  วิธาตา  จะ  หิตัสสะ  เม
          พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดทุกข์,  และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า
ธัมมัสสาหัง  นิยยาเทมิ  สะรีรัญชีวิตัญจิทัง
          ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้  แด่พระธรรม
วันทันโตหัง (ตีหัง )  จะริสสามิ  ธัมมัสเสวะ  สุธัมมะตัง
          ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม,  ซึ่งความเป็นธรรมดีของพระธรรม
นัตถิ  เม  สะระณัง  อัญญัง  ธัมโม  เม  สะระณัง  วะรัง
          ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี,  พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ  วัฑเฒยยัง  สัตถุสาสเน
          ด้วยการกล่าวคำสัจจ์นี้,  ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา
ธัมมัง  เม  วันทะมาเนนะ  (มานายะ)  ยัง  ปุญญัง  ปะสุตัง  อิธะ
          ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระธรรม,  ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้
สัพเพปิ  อันตะรายา  เม  มาเหสุง  ตัสสะ  เตชะสา  ฯ
          อันตรายทั้งปวงอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า,  ด้วยเดชแห่งบุญนั้น  ฯ
บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                 ๓๐
( หมอบกราบ )
กาเยนะ  วาจายะ  วะ  เจตะสา  วา
          ด้วยกายก็ดี  ด้วยวาจาก็ดี  ด้วยใจก็ดี
ธัมเม  กุกัมมัง  ปะกะตัง  มะยา  ยัง
       กรรมน่าติเตียนอันใด,  ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระธรรม
ธัมโม  ปะฏิคคัณหะตุ  อัจจะยันตัง
          ขอพระธรรม  จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น
กาลันตะเร  สังวะริตุง  วะ  ธัมเม  ฯ
       เพื่อการสำรวมระวัง,  ในพระธรรมในกาลต่อไป  ฯ
สังฆานุสสติ
( หันทะ  มะยัง  สังฆานุสสตินะยัง  กะโรมะ  เส )
สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ
          พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า  หมู่ใด,  ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ
      พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า  หมู่ใด,  ปฏิบัติตรงแล้ว
ญายะปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ
         พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า  หมู่ใด, 
      ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สามีจิปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ
         พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า  หมู่ใด,  ปฏิบัติสมควรแล้ว
ยะทิทัง...............................ได้แก่บุคคลเหล่านี้  คือ
จัตตาริ  ปุริสะยุคานิ  อัฏฐะ  ปุริสะปุคคลา
         คู่แห่งบุรุษ  ๔  คู่  นับเรียงตัวบุรุษได้  ๘  บุรุษ
เอสะ  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ
        นั่นแหละ  พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า 
บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                 ๓๑
อาหุเนยโย......................เป็นพระสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
ปาหุเนยโย......................เป็นพระสงฆ์ควรแก่สักการที่เขาจัดไว้ตัอนรับ
ทักขิเณยโย......................เป็นพระสงฆ์ผู้ควรรับทักษิณาทาน
อัญชะลีกะระณีโย...........เป็นพระสงฆ์ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
อะนุตตะรัง  ปุญญักเขตตัง  โลกัสสาติ ฯ
             เป็นเนื้อนาบุญของโลก,  ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.  ดังนี้  ฯ
สังฆาภิคีติ
( หันทะ  มะยัง  สังฆาภิคีติง  กะโรมะ  เส )
สัทธัมมะโช  สุปะฏิปัตติ  คุณาทิยุตโต
           พระสงฆ์ที่เกิดโดยพระสัทธรรม,  ประกอบด้วยคุณมีความปฏิบัติดีเป็นต้น
โยฏฐัพพิโธ  อะริยะปุคคะละสังฆะเสฐโฐ
           เป็นหมู่แห่งพระอริยะบุคคลอันประเสริฐ  ๘  จำพวก
สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต
           มีกายและจิต  อันอาศัยธรรมมีศีลเป็นต้น  อันบวร
วันทามะหัง  ตะมะริยานะคะณัง  สุสุทธัง
          ข้าพเจ้าไหว้หมู่แห่งพระอริยะเจ้าเหล่านั้น,  อันบริสุทธิ์ด้วยดี
สังโฆ  โย  สัพพะปาณีนัง  สะระณัง  เขมะมุตตะมัง
          พระสงฆ์หมู่ใด,  เป็นที่พึ่งอันพ้นภัยสูงสุด,  ของสัตว์ทั้งหลาย
ตะติยานุสสะติฏฐานัง  วันทามิ  ตัง  สิเรนะหัง
          ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น,   อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่สาม
          ด้วยเศียรเกล้า
สังฆัสสาหัสสะมิ  ทาโส (ทาสี)  วะ  สังโฆ  เม  สามิกิสสะโร
       ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระธรรม,  พระธรรมเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า
สังโฆ  ทุกขัสสะ  ฆาตา  จะ  วิธาตา  จะ  หิตัสสะ  เม
          พระสงฆ์เป็นเครื่องกำจัดทุกข์,  และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า
บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                 ๓๒
สังฆัสสาหัง  นิยยาเทมิ  สะรีรัญชีวิตัญจิทัง
          ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้  แด่พระสงฆ์
วันทันโตหัง (ตีหัง )  จะริสสามิ  สังฆัสโสปะฏิปันนะตัง
          ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม,  ซึ่งความปฏิบัติดีของพระสงฆ์
นัตถิ  เม  สะระณัง  อัญญัง  สังโฆ เม  สะระณัง  วะรัง
          ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี,  พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ  วัฑเฒยยัง  สัตถุสาสเน
          ด้วยการกล่าวคำสัจจ์นี้,  ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา
สังฆัง  เม  วันทะมาเนนะ  (มานายะ)  ยัง  ปุญญัง  ปะสุตัง  อิธะ
          ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระสงฆ์,  ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้
สัพเพปิ  อันตะรายา  เม  มาเหสุง  ตัสสะ  เตชะสา  ฯ
          อันตรายทั้งปวงอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า,  ด้วยเดชแห่งบุญนั้น  ฯ
 ( หมอบกราบ )
กาเยนะ  วาจายะ  วะ  เจตะสา  วา
          ด้วยกายก็ดี  ด้วยวาจาก็ดี  ด้วยใจก็ดี
สังเฆ  กุกัมมัง  ปะกะตัง  มะยา  ยัง
       กรรมน่าติเตียนอันใด,  ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระสงฆ์
สังโฆ  ปะฏิคคัณหะตุ  อัจจะยันตัง
          ขอพระสงฆ์  จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น
กาลันตะเร  สังวะริตุง  วะ  สังเฆ  ฯ
       เพื่อการสำรวมระวัง,  ในพระสงฆ์ในกาลต่อไป  ฯ

( นั่งพับเพียบ )

( จบคำทำวัตรเย็น )
บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                 ๓๓
อตีตปัจจเวกขณปาฐะ
( หันทะ  มะยัง  อะตีตะปัจจะเวกขะณะปาฐัง  ภะณามะ  เส
บทพิจารณาเครื่องนุ่งห่ม
อัชชะ  มะยา  อะปัจจะเวกขิตวา  ยัง  จีวะรัง  ปะริภุตตัง
             เครื่องนุ่งห่มใดอันเรานุ่งห่มแล้ว,  ไม่ทันพิจารณาในวันนี้
ตัง  ยาวะเทวะ  สีตัสสะ  ปะฏิฆาตายะ..........                                                                                 .           เครื่องนุ่งห่มนั้น  เรานุ่งห่มแล้ว  เพียงเพื่อบำบัดความหนาว,                                                                                                                                                                                                    
อุณหัสสะ  ปะฏิฆาตายะ...........................เพื่อบำบัดความร้อน
ฑังสะมะกะตะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง  ปะฏิฆาตายะ
            เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ  ยุง  ลม  แดด  และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย
ยาวะเทวะ  หิริโกปินะ  ปะฏิจฉาทะนัตถัง
            และเพียงเพื่อปกปิดอวัยวะ  อันให้เกิดความละอาย
บทพิจารณาอาหาร
อัชชะ  มะยา  อะปัจจะเวกขิตวา  โย  ปิณฑะปาโต  ปะริภุตโต
              อาหารบิณฑบาตใดอันเราบริโภคแล้ว,  ไม่ทันพิจารณาในวันนี้
โส  เนวะ  ทะวายะ....................อาหารบิณฑบาตนั้น  เราบริโภคแล้ว                                       .................................................ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน
นะ  มะทายะ.......................ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเมามัน  อันเกิดกำลังพลังทางกาย
นะ  มัณฑะนายะ................ไม่ให้เป็นไปเพื่อประดับ
นะ  วิภูสะนายะ..................ไม่ให้เป็นไปเพื่อตกแต่ง
ยาวะเทวะ  อิมัสสะ  กายัสสะ  ฐิติยา.....แต่ให้เป็นไปเพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้
ยาปะนายะ..........................เพื่อความเป็นไปได้ของอัตภาพ
วิหิงสุปะระติยา..................เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำบากทางกาย
พรัหมะจะริยานุคคะหายะ..................เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์

บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                  ๓๔
อิติ  ปุราณัญจะ  เวทะนัง  ปะฏิหังขามิ
           ด้วยการทำอย่างนี้  เราย่อมระงับเสียได้ซึ่งทุกขเวทนาเก่า  คือความหิว
นะวัญจะ  เวทะนัง  นะ  อุปปาเทสสามิ..........และไม่ทำเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น
ยาตะรา  จะ  เม  ภะวิสสะติ  อะนะวัชชะตาจะ  ผาสุวิหาโร  จาติ ฯ
           อนึ่ง  ความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตภาพนี้ด้วย,  ความเป็นผู้หาโทษมิได้ด้วย,
           และความป็นอยู่โดยผาสุกด้วย,  จักมีแก่เรา  ดังนี้  ฯ
บทพิจารณาที่อยู่อาศัย
อัชชะ  มะยา  อะปัจจะเวกขิตวา  ยัง  เสนาสะนัง  ปะริภุตตัง
              ที่อยู่อาศัยใด  อันเราใช้สอยแล้ว  ไม่ทันพิจารณาในวันนี้
ตัง  ยาวะเทวะ  สีตัสสะ  ปะฏิฆาตายะ....... ที่อยู่อาศัยนั้น  เราใช้สอยแล้ว  ....................................................................เพียงเพื่อบำบัดความหนาว
อุณหัสสะ  ปะฏิฆาตายะ.............................เพื่อบำบัดความร้อน
ฑังสะมะกะตะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง  ปะฏิฆาตายะ
            เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ  ยุง  ลม  แดด  และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย
ยาวะเทวะ  อุตุปะริสสะยะวิโนทะนัง  ปะฏิสัลลานารามัตถัง
            เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายอันจะพึงมีจากดินฟ้าอากาศ,  และเพื่อความเป็นผู้ยินดี
            อยู่ได้ในที่หลีกเร้นสำหรับภาวนา.
บทพิจารณายารักษาโรค
อัชชะ  มะยา  อะปัจจะเวกขิตวา  โย  คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขาโร  ปะริภุตโต
            เครื่องใช้สอยคือยารักษาโรค,  อันเป็นปัจจัยเกื้อกูลแก่คนไข้อันใด
        อันเราบริโภคแล้ว  ไม่ทันพิจารณาในวันนี้
โส  ยาวะเทวะ  อุปปันนานัง  เวยยาพาธิกานัง  เวทะนานัง  ปะฏิฆาตายะ
            เครื่องใช้สอยคือยารักษาโรคนั้น,  เราบริโภคแล้ว  เพียงเพื่อบำบัดทุกขเวทนา.                ...........อันบังเกิดขึ้นแล้ว,  มีอาพาธต่างๆ  เป็นมูล
อัพพะยาปัชฌะปะระมะตายาติฯ*เพื่อความเป็นผู้ไม่มีโรคเบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง ดังนี้.
  บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                  ๓๕
นมัสการพระอะระหันต์  ๘  ทิศ
 ( หันทะ  มะยัง  สะระภัญเญนะ  พุทธะมังคะละคาถาโย  ภะณามะ  เส)
 สัมพุทโธ  ทิปะทัง  เสฏโฐ                        นิสินโน  เจวะ  มัฌิเม
โกณฑัญโญ  ปุพพะภา  จะ                       อาคะเณยเย  จะ  กัสสะโป
สารีปุตโต  จะ  ทักขิเณ                             หะระติเย  อุปาลี  จะ
ปัจฉิเมปิ  จะ  อานันโท                             พายัพเพ  จะ  คะวัมปะติ
โมคคัลลาโน  จะ  อุตตะเร                        อิสาเณปิ  จะ  ราหุโล
อิเม  โข  มังคะลา  พุทธา                          สัพเพ  อิธะ  ปะติฏฐิตา
วันทิตา  เต  จะ  อัมเหหิ                           สักกาเรหิ  จะ  ปูชิตา
เอเตสัง  อานุภาเวนะ                                สัพพะโสตถี  ภะวันตุ  โน ฯ
  อิจเจวะมัจจันตะนะมัสสะเนยยัง
    นะมัสสะมาโน  ระตะนัตตะยัง  ยัง
ปุญญาภิสันทัง  วิปุลัง  อะลัตถัง
   ตัสสานุภาเวนะ  หะตันตะราโย  ฯ


บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                  ๓๖
คาถาบูชาพระพุทธสิหิงค์
นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมา  สัมพุทธัสสะ  ( ๓ จบ
( หันทะ  มะยัง  พุทธะปะสังสา  คาถาโย  พุทธะสิหิงโค  นามะ  ภะณามะ  เส)
อิติ  ปะวะระสิหิงโค                                 อุตตะมะยะโสปิ  เตโช
ยัตถะ  กัตถะ  จิตโตโส                             สักกาโร  อุปาโท
สะกาละพุทธะสาสะนัง                            โชตะยันโตวะ  ทีโป
สุระนะเรหิ  มะหิโต                                  ธะระมาโนวะ  พุทโธติ.

          พุทธสิหิงคา                                   อุบัติมา  ณ  แดนใด
ประเสริฐ  ธ  เกริกไกร                             ดุจกายพระศาสดา
          เป็นที่เคารพน้อม                           มนุษย์พร้อมทั้งเทวา
เปรียบเช่นชวาลา                                     ศาสนาที่ยืนยง
          เหมือนหนึ่งพระสัมพุทธ               สุวิสุทธิ์พระชนม์คง
แดนใดพระดำรง                                      พระศาสน์คงก็จำรูญ
          ด้วยเดชสิทธิศักดิ์                           ธ  พิทักษ์อนุกูล
พระศาสน์บ่มีสูญ                                     พระเพิ่มพูลมหิทธา   
          ข้า ฯ ขอเคารพน้อม                       วจีค้อมขึ้นบูชา
พิทักษ์  ธ  รักษา                                       พระศาสน์มาตลอดกาล
          ปวงข้า ฯ จะประกาศ                     พุทธศาสน์ให้ไพศาล
ขอพระอภิบาล                                         ชินมารนิรันดร์  เทอญ.       
 บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                  ๓๗
กรวดน้ำตอนเย็น
อุททิสสนาธิฏฐานคาถา
( หันทะ  มะยัง  อุททิสสะนาธิฏฐานะคาถาโย  ภะณามะ  เส  )

                                  บทที่  ๑
อิมินา  ปุญญะกัมเมนะ                                   ด้วยบุญนี้  อุทิศให้
อุปัชฌายา  คุณุตตรา                                      อุปัชฌาย์  ผู้เลิศคุณ
อาจาริยูปะการา  จะ                                       แลอาจารย์  ผู้เกื้อหนุน
มาตา  ปิตา  จะ  ญากะตา                    ทั้งพ่อแม่  แลปวงญาติ
สุริโย  จันทิมา  ราชา                         สูรย์จันทร์  แลราชา
คุณะวันตา  นะราปิ  จะ                      ผู้ทรงคุณ  หรือสูงชาติ
พรัหมะมารา  จะ  อินทา  จะ                 พรหมมาร  และอินทราช
โลกะปาลา  จะ  เทวะตา                      ทั้งทวยเทพ  และโลกบาล
ยะโม  มิตตา  มะนุสสา  จะ                   ยมราช  มนุษย์มิตร              
มัชฌัตตา  เวริกาปิ  จะ                       ผู้เป็นกลาง  ผู้จ้องผลาญ   
สัพเพ  สัตตา  สุขี  โหนตุ                     ขอให้  เป็นสุขศานติ์                                                                                                                                                                  ........................................................................ทุกทั่วหน้า  อย่าทุกข์ทน
ปุญญานิ  ปะกะตานิ  เม                      บุญผอง  ที่ข้าทำ
.......................................................................จงช่วยอำนวยศุภผล
สุขัง  จะ  ติวิธัง  เทนตุ                       ให้สุข  สามอย่างล้น
ขิปปัง  ปาเปถะ  โวมะตัง                                ให้ลุถึง  นิพพานพลัน.   

บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                  ๓๘
 ( บทที่ ๒ )  เย  เกจิ  ขุททะกา  ปาณา            สัตว์เล็ก  ทั้งหลายใด
มะหันตาปิ  มะยา  หะตา                           ทั้งสัตว์ใหญ่  เราห้ำหั่น
เย  จาเนเก  ปะมาเทนะ                             มิใช่น้อย  เพราะเผลอผลัน
กายะวาจามะเนเหวะ                               ทางกายา  วาจาจิต
ปุญญัง  เม  อะนุโมทันตุ                            จงอนุโมทนากุศล
คัณหันตุ  ผะละมุตตะมัง                           ถือเอาผลอันอุกฤษฏ์  
เวรา โน เจ ปะมุญจันตุ                             ถ้ามีเวร  จงเปลื้องปลิด
สัพพะโทสัง  ขะมันตุ  เม                           อดโทษข้า  อย่าผูกไว้.
 ( บทที่๓ )  ยังกิญจิ  กุสะลัง  กัมมัง              กุศลกรรม  อย่างใดอย่างหนึ่ง
กัตตัพพัง  กิริยัง  มะมะ                            เป็นกิจซึ่ง  ควรฝักใฝ่
กาเยนะ  วาจามะนะสา                             ด้วยกาย  วาจา  ใจ
ติทะเส  สุคะตังกะตัง                               เราทำแล้ว  เพื่อไปสวรรค์     
เย  สัตตา  สัญญิโน  อัตถิ                           สัตว์ใด  มีสัญญา
เย  จะ  สัตตา  อะสัญญิโน                          หรือหาไม่  เป็นอสัญญ์
กะตัง  ปุญญะผะลัง  มัยหัง                         ผลบุญ  ข้าทำนั้น
สัพเพ  ภาคี  ภะวันตุ  เต                            ทุก ๆ สัตว์  จงมีส่วน
เย  ตัง  กะตัง  สุวิทิตัง                               สัตว์ใดรู้  ก็เป็นอัน
ทินนัง  ปุญญะผะลัง  มะยา                        ว่าข้าให้  แล้วตามควร
เย  จะ  ตัตถะ  นะ  ชานันติ                         สัตว์ใด  มิรู้ถ้วน
เทวา  คันตะวา  นิเวทะยุง                          ขอเทพเจ้า  จงเล่าขาน
สัพเพ  โลกัมหิ  เย  สัตตา                           ปวงสัตว์  ในโลกีย์
ชีวันตาหาระเหตุนา                                 มีชีวิต  ด้วยอาหาร
มะนุญญัง  โภชะนัง  สัพเพ                         จงได้  โภชน์สำราญ
ละภันตุ  มะมะ  เจตะสา                             ตามเจตนา  ข้าอาณัติ.

บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                  ๓๙
                                        บทที่ ๔
อิมินา  ปุญญะกัมเมนะ               ด้วยบุญนี้  ที่เราทำ
อิมินา  อุททิเสนา  จะ                 แลอุทิศ  ให้ปวงสัตว์
ขิปปาหัง  สุละเภ  เจวะ               เราพลันได้  ซึ่งการตัด
ตัณหุปาทานะแทะนัง                ตัวตัณหา  อุปาทาน
เย  สันตาเน  หินา  ธัมมา             สิ่งชั่ว  ในดวงใจ
ยาวะ  นิพพานะโต  มะมัง            กว่าเราจะ  ถึงนิพพาน
นัสสันตุ  สัพพะทา  เยวะ             มลายสิ้น  จากสันดาน
ยัตถะ  ชาโต  ภะเว  ภะเว             ทุก ๆ ภพ  ที่เราเกิด
อุชุจิตตัง  สติ  ปัญญา                 มีจิตตรง  และสติทั้งปัญญาอันประเสริฐ      
สัลเลโข  วิริยัมหินา                   พร้อมทั้ง  ความเพียรเลิศ     
 ...........................................................เป็นเครื่องขูด  กิเลศหาย 
มารา  ละภันตุ  โนกาสัง               โอกาสอย่าพึงมีแก่หมู่มารสิ้นทั้งหลาย
กาตุญจะ  วิริเยสุ  เม                   เป็นช่องประทุษร้าย,  ทำลายล้าง        .............................................................ความเพียรจม
พุทธาทิปะวะโร  นาโถ                ที่พึ่งอันประเสริฐมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
ธัมโม  นาโถ  วะรุตตะโม              พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐสูงสุด
นาโถ  ปัจเจกะพุทโธ  จะ              พระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งด้วย               
สังโฆ  นาโถตตะโร  มะมัง            พระสงฆ์  เป็นที่พึ่งอันยิ่งของเรา
เตโสตตะมานุภาเวนะ                 ด้วยอานุภาพนั้น
มาโรกาสัง  ละภันตุ  มา               ขอหมู่มาร  อย่าได้ช่อง           
ทะสะปุญญานุภาเวนะ                ด้วยเดชบุญทั้งสิบป้อง
มาโรกาสัง  ละภันตุ  มา ฯ                   อย่าเปิดโอกาสแก่มาร.  เทอญ. ฯ
บทสวดมนต์(ทำวัตรเช้า-เย็น)  ฉบับวัดอีสานสามัคคี โดย พระปรมัติ  อธิปญฺโญ                                                                  ๔๐
บทแผ่เมตตา
สัพเพ  สัตตา                     สัตว์ทั้งหลาย,  ที่เป็นเพื่อนทุกข์  เกิด  แก่ 
                                                     เจ็บ  ตาย  ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา  โหนตุ                   จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด,  อย่าได้มีเวรแก่กัน
                                                    และกันเลย                             
อัพพะยาปัชฌา  โหนตุ          จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด,  อย่าได้มีเบียดเบียน
                                                   ซึ่งกันและกันเลย     
อะนีฆา  โหนตุ                  จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด,  อย่าได้มีความทุกข์กาย
                                                   ทุกข์ใจเลย              
สุขี  อัตตานัง  ปะริหะรันตุ ฯ   จงมีความสุขกายสุขใจ, 
                                                  รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น...เทอญ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

OK