4.11.54

หลักการเจริญสติปัฏฐานโดยย่อ

หลักการเจริญสติปัฏฐานโดยย่อ
วิธียืนกำหนด
การยืนกำหนด เป็นการฝึกปฏิบัติแนวสติปัฏฐาน ในหมวดว่าด้วยอิริยาบถ ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า ฐิโต วา ฐิโตมฺหีติ ปชานาติ แปลว่า เมื่อยืนอยู่ ก็มีสติกำหนดรู้ตัวว่ายืนอยู่ ดังนี้
คำกำหนด : ยืนหนอๆๆ
วิธีปฏิบัติ :
. ยืนตัวตรง ศีรษะตรง เท้าทั้งสองห่างกันเล็กน้อย
. สายตาทอดลงพื้น ห่างจากปลายเท้าประมาณ ๔ ศอก (หรี่ตาลงครึ่งหนึ่ง หรือจะหลับตาก็ได้)
ต่อไปให้กำหนดเก็บมือ
. ขณะที่ยกมือซ้ายไขว้ไว้ด้านหลัง กำหนดว่า ยกหนอๆๆ ไปหนอๆๆ ขณะหลังมือซ้ายถูกบั้นเอว กำหนดว่า ถูกหนอ
. ขณะที่ยกมือขวาไปไขว้ไว้ด้านหลัง กำหนดว่า ยกหนอๆๆ ไปหนอๆๆ ขณะมือขวาถูกฝ่ามือซ้ายกำหนดว่า ถูกหนอ ขณะมือซ้ายจับข้อมือขวา กำหนดว่า จับหนอ
. ถ้าจะเอามือไว้ด้านหน้า กำหนดว่า ยกหนอ, มาหนอ, ถูกหนอ, ยกหนอ, มาหนอ, ถูกหนอ, จับหนอ, ทั้งซ้ายและขวาให้กำหนดอาการเคลื่อนไหวเหมือนกัน
. เอาสติกำหนดรู้ที่อาการยืน (คืออาการตั้งตรงของร่าง กายทั้งหมด ไม่จดจ่ออยู่จุดใดจุดหนึ่ง)กำหนดว่า      ยืนนอๆๆ (ดูตัวอย่างดังรูป)
วิธีกำหนดเดินจงกรม ๑ ระยะ
คำกำหนด : ขวาย่างหนอ, ซ้ายย่างหนอ
วิธีปฏิบัติ :
. เอาสติตั้งไว้ที่อาการตั้งตรงของร่างกาย กำหนดว่ายืนหนอๆๆ
. กำหนดว่า ขวา พร้อมยกเท้าขวาขึ้นช้าๆ สูงประมาณ ๑ นิ้ว (คำบริกรรมกับอาการยกเท้าต้องพร้อมกัน)
. กำหนดว่า ย่าง พร้อมกับค่อยๆเคลื่อนเท้าไปข้างหน้า จนส้นเท้าขวาเลยปลายเท้าซ้าย ประมาณ๑นิ้ว แล้วหย่อนฝ่าเท้าลงสู่พื้น
. ขณะที่หย่อนฝ่าเท้าลงแล้วแตะถูกพื้น กำหนดว่า หนอ สิ้นสุดอาการเดิน (ให้วางเท้าลงพร้อมกันไม่เอาส้นเท้า หรือปลายเท้าลงก่อน)
. เท้าซ้ายก็ให้กำหนดเช่นเดียวกับเท้าขวา กำหนดว่า ซ้ายย่างหนอ (ให้มีสติรู้ว่านี่ขวากำลังย่างหรือนี่ซ้ายกำลังย่าง)
. คำกำหนด และสติที่รู้อาการเคลื่อนไปของเท้า ต้องให้ไปพร้อมกัน ไม่ก่อนไม่หลังกว่ากัน โดยกำหนดรู้อาการเคลื่อน ไหวของเท้าจากเบื้องหลังไปสู่เบื้องหน้า
. ขณะเดินจงกรมให้ระวังสายตา ไม่มองนั่นมองนี่ ให้เก็บสายตา จะเดินได้สมาธิดี
. ระวัง ? ไม่ยกเท้าสูง ไม่ก้าวขายาว ไม่กระดกเท้าไปข้างหลัง ไม่เอาปลายเท้า หรือ ส้นเท้าลงก่อน ไม่มองดูเท้า
. ไม่มองดูรูปร่างสัณฐานของเท้า แต่ให้ส่งความรู้สึกไปที่เท้า รับรู้อาการเคลื่อนไหวของเท้า ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการเดิน
๑๐. ให้เดินจงกรมก่อนนั่งสมาธิทุกครั้ง จะทำให้การนั่งได้ดี ไม่ง่วง อินทรีย์เสมอกัน
๑๑. ขณะเดินจงกรมอยู่ ถ้ามีอารมณ์อื่นแทรกเข้ามา และเป็นอารมณ์ที่ชัดเจน เช่น ความคิด, เสียง ให้หยุดเดิน ก่อนแล้ว ตั้งสติกำหนดอารมณ์นั้นๆ ว่า คิดหนอๆๆ หรือ ได้ยินหนอ ๆๆ จนความคิด หรือเสียงนั้นๆ เบาไป หายไป จึงกลับมากำหนดรู้ที่อาการเดินต่อไป ไม่ควรเดินไปด้วยกำหนดอารมณ์อื่นไปด้วยจะเป็น ๒ อารมณ์ หรือกำหนดเพียง ๓ ครั้ง


วิธีกำหนดกลับตัว
เมื่อเดินไปจนสุดทางเดินแล้วให้กำหนดกลับตัวดังนี้
. ขณะยืนอยู่ สติรู้อยู่ที่อาการยืน (คืออาการตั้งตรงของร่างกาย) กำหนดว่า ยืนหนอ ๓ ครั้ง
. ตั้งสติไว้ที่เท้าข้างขวา ขณะกำหนดว่า กลับ ให้ยกเท้าขวาขึ้นนิดหนึ่ง แล้วหมุนไปทางขวามือ(คำว่า ขณะ คือคำนึกในใจกับอาการเคลื่อนไหวของร่างกายให้เริ่มต้นและสิ้นสุดพร้อมกัน ไม่ก่อนหรือหลังกว่ากัน)
. ขณะกำหนดว่า หนอ ให้ค่อยๆวางปลายเท้าลงแนบกับพื้น
. ขณะกำหนดว่า กลับ ให้ยกเท้าซ้ายขึ้นนิดหนึ่งแล้วหมุนไปทางเท้าขวา
. ขณะกำหนดว่า หนอ ให้ค่อยๆวางเท้าซ้ายลงกับพื้นเคียงเท้าขวา ให้ทำอย่างนี้จนตรงทางเดิน
. เมื่อกลับจนตรงทางเดินแล้ว ให้กำหนดว่า ยืนหนอๆๆ ๓ ครั้ง จึงกำหนด ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ เดินกลับทางเดิมต่อไป
. ขณะกลับตัว สติให้รู้อยู่ที่อาการหมุนกลับของเท้า หรืออยู่ที่ร่างกายที่กำลังหมุนกลับอยู่ แล้วแต่อาการใดชัดเจนก็ให้กำหนดรู้อาการนั้น
. การกำหนดกลับ จะกลับกี่ครั้งก็ได้ แต่อย่างน้อยไม่ควร ต่ำกว่า ๔ คู่ ( ๘ ครั้ง) จิตถึงจะเป็นสมาธิเร็ว
. ถ้ารู้สึกถึงต้นจิต (อาการอยาก) เช่น อยากจะเดิน หรืออยากจะกลับ ให้กำหนดต้นจิตก่อน โดย
กำหนดว่า อยากเดินหนอ ๆๆ หรือ อยากกลับหนอๆๆ แล้วค่อยเดิน หรือกลับตัว ( ดูตัวอย่างดังรูป)
วิธีกำหนดขณะลงนั่งสมาธิ
เมื่อเดินจงกรมไปจนครบเวลาที่กำหนดไว้แล้ว ให้เดินไปสู่ที่ปูอาสนะ ด้วยการเดินกำหนดระยะเหมือนเดิม และก่อนที่จะนั่งสมาธิให้กำหนดปล่อยแขนก่อนดังนี้
. ขณะยืนอยู่ สติกำหนดรู้ที่อาการยืน กำหนดว่า ยืนหนอๆๆ
. กำหนดว่า เคลื่อนหนอๆๆ พร้อมกับค่อยๆยกมือขวาออกจากข้อมือซ้าย (แล้วแต่ด้านที่จับกันไว้)
. กำหนดว่า เคลื่อนหนอๆๆ พร้อมกับปล่อยมือซ้ายลงข้างลำตัวช้า ๆ สติกำหนดรู้อาการเคลื่อนลงของมือตลอดสาย
. มือขวาก็กำหนดเช่นเดียวกับมือซ้าย โดยกำหนดว่า......เคลื่อนหนอๆๆ ลงหนอๆๆ ตามอาการ
. กำหนดรู้จิตที่อยากจะนั่ง กำหนดว่า อยากนั่งหนอ ๆๆ
. ขณะย่อตัวลง " ลงหนอ ๆๆ
๗ ขณะที่เข่าถูกพื้น " ถูกหนอ
. ขณะที่สะโพกถูกส้นเท้า " ถูกหนอ
. ขณะที่นั่งเรียบร้อยแล้ว " นั่งหนอๆๆ
๑๐. ขณะยกมือขวามาวางบนหัวเข่าขวา " ยก/ มา/ ลงหนอ/ถูกหนอ
๑๑. ขณะยกมือซ้ายมาวางบนหัวเข่าซ้าย " ยกหนอ, มาหนอ, ลงหนอ, ถูกหนอ
วิธีกำหนดขณะจะนั่งขัดสมาธิ
. ขณะนั่งอยู่ กำหนดว่า นั่งหนอๆๆ
. ขณะยกตะโพกขึ้น " ยกหนอๆๆ
. ขณะนั่งทับลงไป " ลงหนอๆๆ
. ขณะขยับดึงเท้าออกมา " ขยับ,ดึงหนอๆๆ
. ขณะยกมือขวา-ซ้ายมาไว้บนหัวเข่า " ยกหนอ, มาหนอ, ลงหนอ, ถูกหนอ
. ขณะยืดตัวขึ้นตั้งตัวตรง " ยืดหนอๆ,ตั้งหนอ
. ขณะหลับตา " หลับ(ตา)หนอ
. ขณะยกมือซ้ายมาไว้บนตัก " พลิกหนอ, มาหนอ, ลงหนอ, ถูกหนอ
๑๐. ขณะยกมือขวามาไว้บนตัก " พลิกหนอ, มาหนอ, ลงหนอ, ถูกหนอ

ข้อควรระวังในการเดินจงกรม
. ขณะกำหนดว่า ขวา ต้องยกเท้าขวา และขณะกำหนดว่า ย่าง เท้าต้องเคลื่อนไปข้างหน้า ขณะกำหนดว่า หนอ ฝ่าเท้าต้องลงถูกพื้นพร้อมกันทั้งส้นเท้าและปลายเท้า เรียกว่ากำหนด ได้ปัจจุบัน
. อย่าหลับตาเดิน ให้หรี่ตาลงครึ่งหนึ่ง ส่วนสายตาให้ทอดลงพื้นประมาณ ๔ ศอก (ไม่เพ่งดูพื้น ให้ดูเฉยๆ แบบสบายๆ)
. ขณะเดินอยู่ ต้องไม่สอดส่ายสายตามองดูไปรอบๆตัว ให้สนใจเฉพาะแต่อาการเคลื่อนไหวของเท้าเท่านั้น
. อย่ายกเท้าสูง อย่าก้าวเท้ายาว อย่าเดินเร็ว อย่าเกร็งตัว ให้เดินสบายๆเหมือนเดินทั่วไป แต่ให้ช้าๆและ มีสติ
. อย่าก้มดูเท้า ให้ส่งแต่ความรู้สึกไปจับที่อาการเคลื่อนไหวของเท้าแต่ละขั้นตอนของการก้าวเท้าอย่างละเอียด ให้รู้ ต้น กลาง ปลาย
. ถ้าง่วง ให้เดิน ๑ ระยะ เร็ว ถ้าปกติให้เดินช้า ๆ เหมือนคนป่วย เพื่อสติจะได้ตามดูอาการของกายได้ทัน
. ให้ตามรู้อาการของเท้าทุกระยะ ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการเคลื่อนไหว ต้น กลาง ปลาย เป็นตอนๆไป ไม่ต้องพูดออกเสียงให้ว่าในใจ
. ถ้าหากต้องการเปลี่ยนแขน ให้หยุดเดิน แล้วกำหนดต้นจิตก่อนว่า อยากเปลี่ยนหนอ ๓ ครั้งแล้วจึงค่อย ๆเปลี่ยน ให้กำหนดรู้ตามอาการเคลื่อนไหวทุกอย่าง อย่าให้ขาดสติ
. ขณะเดินอยู่ ถ้าเผลอจิตคิดไปข้างนอก, เหลือบตาไปมองข้างนอก ได้ยินเสียง, ได้กลิ่น เป็นต้น ให้หยุดยืนเท้าชิดกัน ตั้งสติกำหนดไปที่อารมณ์นั้นๆว่า คิดหนอ, เห็นหนอ, ได้ยินหนอ, ได้กลิ่นหนอ, ฯลฯ ให้
กำหนดจนกว่าอารมณ์นั้น ๆ จะหายไป แล้วกลับมาเดินจงกรมต่อไป อย่าเดินไปด้วยกำหนดไปด้วย จะเป็นสองอารมณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

OK