16.11.54

สวดมนต์


ทำวัตรเช้า และเย็น
บูชาพระรัตนตรัยก่อนทำวัตรเช้า-เย็น
ภิกษุสามเณรทุกรูปกราบพระประธาน 3 ครั้ง
โย โส ภะคะวา อะระหัง
สัมมาสัมพุทโธ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์ใด, เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว;
สวากขาโต เยนะ
ภะคะวะตา  ธัมโม
พระธรรมคือศาสนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นพระองค์ใด, ตรัสไว้ดีแล้ว
สุปะฏิปันโน ยัสสะ
ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
พระสงฆ์คือผู้ทรงธรรมวินัย, ซึ่งเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นหมู่ใด, เป็นผู้ ปฏิบัติดีแล้ว
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง
สะธัมมัง สะสังฆัง, อิเมหิ
สักกาเรหิ ยะถาระหัง
อาโรปิ เตหิอะภิปูชะยามะ,
ข้าพเจ้าขอบูชาอย่างยิ่งซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า, พร้อมทั้งพระสัทธรรม, และพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งหลาย, ข้าพเจ้าได้ยกขึ้นประดิษฐานไว้ดีแล้ว ในที่อันสมควรอย่างยิ่งเช่นนี้,




สาธุโน ภันเต ภะคะวา
สุจิระปะรินิพพุโตปิ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแม้ปรินิพพานนานแล้วก็ตาม, ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ, ซึ่งยังประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่สาธุชนทั้งหลาย,
ปัจฉิมา ชะนะตา นุกัมปะ-
มานะสา, อิเม สักกาเร
 ทุคคะตะ ปัณณาการะภูเต-ปะฏิคคัณหาตุ,
ขอจงรับเครื่องสักการะบรรณาการ, ของคนยากทั้งหลายเหล่านี้ด้วย, เพื่ออนุเคราะห์แก่ประชุมชนผู้เกิดแล้วในภายหลังด้วย,
อัมหากัง ฑีฆะรัตตัง
หิตายะ สุขายะ.
เพื่อเป็นประโยชน์เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย, สิ้นกาลนาน เทอญ.
(กราบ)

คำไหว้พระ
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
ภะคะวา,
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง,
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,

พุทธัง ภะคะวันตัง
อะภิวาเทมิ
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน,
(กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา
ธัมโม,
ธัมมัง นะมัสสามิ,
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว,
ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม,
(กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวาโต
สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว,
สังฆัง นะมามิ,
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์
(กราบ)
มาตาปิตุคุณัง อะหัง
วันทามิ,
ข้าพเจ้ากราบวันทาบิดามารดา ผู้มีพระคุณโดยความเคารพ
(กราบ)
คะรุอุปัชฌายาจาริยะคุณัง
อะหัง วันทามิ,
ข้าพเจ้ากราบวันทา ครูอุปัชฌา อาจารย์, ผู้มีพระคุณโดยความเคารพ
(กราบ)


ทำวัตรเช้า
(ผู้เป็นหัวหน้านำดังนี้)
หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต
ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส
(แล้วสวดพร้อมกันว่า)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต,
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,
อะระหะโต,
ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส,
สัมมาสัมพุทธัสสะ,
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
พุทธาภิถุติ
(ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำว่า)
หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เส
(แล้วสวดพร้อมกันว่า)
โยโส ตะถาคะโต,
พระตถาคตเจ้านั้นพระองค์ใด,
อะระหัง,
เป็นผู้ไกลจากกิเลส,
สัมมาสัมพุทโธ,
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,
วิชชาจะระณะ สัมปันโน,
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ,

สุคะโต,
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี,

โลกะวิทู,
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง,
อนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ,
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษ ที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า,
สัตถา เทวะมะนุสสานัง,
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย,
พุทโธ,
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม,
ภะคะวา,
เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์,
โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง
สะมาระกัง สะพรัหมะกัง,
สัสสะมะณะพรัหมะณิงปะชัง
สะเทวะมะนุสสังสะยัง,
อะภิญญา สัจฉิกัตวา ปะเวเทสิ,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ได้ทรงทำความดับทุกข์ให้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ทรงสอนโลกนี้พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ-พราหมณ์พร้อมทั้งเทวดา และมนุษย์ให้รู้ตาม,
โย ธัมมัง เทเสสิ,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ทรงแสดงธรรมแล้ว,
อาทิกัลยาณัง,
ไพเราะในเบื้องต้น


มัชเฌกัลยาณัง,
ไพเราะในท่านกลาง,
ปะริโยสานะกัลยาณัง
ไพเราะในที่สุด
สาตถัง สะพยัญชะนัง
เกวะละปะริปุณณัง ปะริสุทธัง
พรัหมะจะริยัง ปะกาเสสิ,
ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือ แบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง, พร้อมทั้งอรรถะพร้อมทั้งพยัญชนะ,

ตะมะหัง ภะคะวันตัง
อะภิปูชะยามิ,
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง, เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,

ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา
นะมามิ.
ข้าพเจ้านอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า,

(กราบระลึกพระพุทธคุณ)
. ธัมมาภิถุติ
(ผู้เป็นหัวหน้านำต่อไปว่า)
หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เส
(แล้วสวดพร้อมกันว่า)
โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา
ธัมโม,
พระธรรมนั้นใด, เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว
สันทิฏฐิโก,
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง

อะกาลิโก,
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล,

เอหิ ปัสสิโก,
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า, ท่านจงมาดูเถิด,
โอปะนะยิโก,
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว,
ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิ,
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน,
ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ,
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง, เฉพาะพระธรรมนั้น,
ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ,
ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมนั้นด้วยเศียรเกล้า,
(กราบระลึกพระธรรมคุณ)

สังฆาภิถุติ
(ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำว่า)
หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส
(แล้วสวดพร้อมกันว่า)
โยโส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต
สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นหมู่ใดปฏิบัติดีแล้ว,



อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต
สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใดปฏิบัติตรงแล้ว,
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต
สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใดปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว,
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต
สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใดปฏิบัติสมควรแล้ว,
ยะทิทัง,
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ
ปุริสะปุคคะลา,
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ,
 คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่, นับเรียงตัว
บุรุษได้ ๘ บุรุษ,
นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า,
อาหุเนยโย,
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา,
ปาหุเนยโย,
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
ทักขิเณยโย,
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน,
อัญชะลีกะระณีโย,
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี,

อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง
โลกัสสะ,
เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า,

ตะมะหัง สังฆัง อภิปูชะยามิ,
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง, เฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น,
ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ,
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้นด้วยเศียรเกล้า,
(กราบระลึกพระสงฆ์คุณ)

รตนัตตะยัปปะณามะคาถา
(ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำว่า)
หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย
เจวะสังเวคะ ปะริกิตตะนะปาฐัญจะ ภะณามะ เส
(แล้วสวดพร้อมกันว่า)
พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว,
พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์, มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ,
โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะ-
โลจะโน,
พระองค์ใดมีตาคือญาณอันประเสริฐ, หมดจดถึงที่สุด,
โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก,
เป็นผู้ฆ่าเสียซึ่งบาปและอุปกิเลสของโลก,

วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น, โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ,
ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน,
พระธรรมของพระศาสดา, สว่างรุ่งเรืองเปรียบดวงประทีป,
โย มัคคะปากามะตะเภทะ-
ภินนะโก,
จำแนกประเภทคือมรรคผลนิพพานส่วนใด,
โลกุตตะโร โย จะตะทัตถะที-
ปะโน,
ซึ่งเป็นตัวโลกุตตระ, และส่วนใดที่ชี้แนวแห่งโลกุตตระนั้น,
วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ
ตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น, โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ
สังโฆ สุเขตตาภยะติเขตตะ-
สัญญิโต,
พระสงฆ์เป็นนาบุญอันยิ่งใหญ่, กว่านาบุญอันดีทั้งหลาย,
โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก,
เป็นผู้เห็นพระนิพพาน, ตรัสรู้ตามพระสุคตหมู่ใด,
โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส,
เป็นผู้ละกิเลสเครื่องโลเล, เป็นพระอริยะเจ้ามีปัญญาดี,
วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ
ตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น, โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ,


อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง, วัตถุตตะยัง วันทะยะตาภิสังขะ-ตัง ปุญญัง มะยา ยัง มะมะ
บุญใดที่ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ ซึ่งวัตถุสาม, คือพระรัตนตรัย, อันควรบูชายิ่งโดยส่วนเดียว, ได้กระทำ
สัพพุปัททะวา, มาโหนตุ เว
ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา,
แล้วเป็นอย่างยิ่งเช่นนี้นี้, ขออุปัทวะทั้งหลายจงอย่ามีแก่ข้าพเจ้าเลย, ด้วยอำนาจความสำเร็จ อันเกิดจากบุญนั้น,
อิธะ ตะถาคะโต โลเก
อุปปันโน,
พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลกนี้,
อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ,
เป็นผู้ไกลจากกิเลส, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,
ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก,
และพระธรรมที่ทรงแสดง, เป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์,
อุปะสะมิโก ปรินิพพานิโก,
เป็นเครื่องสงบกิเลส, เป็นไปเพื่อปรินิพพาน,
สัมโพธะคามี สุคะตัปปะ เวทิโต,
เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม, เป็นธรรม ที่พระสุคตประกาศ,
มะยันตัง ธัมมัง สุตวา เอวัง
ชานามะ,
พวกเรา เมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว, จึงได้รู้อย่างนี้ว่า,

ชาติปิ ทุกขา,
แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์
ชะราปิ ทุกขา,
แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์
มะระณัมปิ ทุกขัง,
แม้ความตายก็เป็นทุกข์
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะ-
นัสสุปายาสาปิ ทุกขา,
แม้ความโศก ความร่ำไร รำพัน, ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ, ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์

อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข,
ความประสบกับสิ่ง ไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์,

ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข,
ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์,

ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิทุกขัง,
มีความปรารถนาสิ่งใด, ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์

สังขิตเตนะ ปัญจุปาทา นักขันธา ทุกขา,
ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์

เสยยะถีทัง,
ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ

รูปูปาทานักขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือรูป,



เวทะนูปาทานักขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือเวทนา,

สัญญูปาทานักขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสัญญา,

สังขารูปาทานักขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสังขาร,
วิญญาณูปาทานักขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือวิญญาณ,
เยสัง ปะริญญายะ,
เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้ อุปาทานขันธ์เหล่านี้เอง,
ธะระมาโน โส ภะคะวา,
จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่,
เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ,
ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย, เช่นนี้เป็นส่วนมาก,
เอวัง ภาคา จะปะนัสสะ
ภะคะวะโต, สาวะเกสุ อะนุสา
สะนี, พะหุลา ปะวัตตะติ,
อนึ่ง คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลายส่วนมาก, มีส่วน คือการจำแนกอย่างนี้ว่า,
รูปัง อะนิจจัง,
รูปไม่เที่ยง,

เวทะนา อะนิจจา,
เวทนาไม่เที่ยง,
สัญญา อะนิจจา,
สัญญาไม่เที่ยง,
สังขารา อะนิจจา,
สังขารไม่เที่ยง,
วิญญานัง อะนิจจัง,
วิญญาณไม่เที่ยง
รูปัง อะนัตตา,
รูปไม่ใช่ตัวตน,
เวทะนา อะนัตตา,
เวทนาไม่ใช่ตัวตน

สัญญา อะนัตตา,
สัญญาไม่ใช่ตัวตน,

สังขารา อะนัตตา,
สังขารไม่ใช่ตัวตน,

วิญญาณัง อะนัตตา,
วิญญาณไม่ใช่ตัวตน,

สัพเพ สังขารา อะนิจจา,
สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง,

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ,
ธรรมทั้งหลายทั้วปวง ไม่ใช่ตัวตนดังนี้,

เต (ตา) มะยัง
พวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ถูก

โอติณณามหะ,
ครอบงำแล้ว

ชาติยา,
โดยความเกิด,

ชะรามะระเณนะ,
โดยความแก่และความตาย,

๑ คำที่อยู่ในวงเล็บต่อท้ายเช่นนี้สำหรับผู้หญิงว่า



โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ
โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ,
โดยความโศก ความร่ำไรรำพัน, ความไม่สบายกาย, ความไม่สบายใจ, ความคับแค้นใจทั้งหลาย,

ทุกโข ติณณา,
เป็นผู้ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้ว,

ทุกขะปะเรตา,
เป็นผู้มีความทุกข์ เป็นเบื้องหน้าแล้ว,

อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ
ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยา
ปัญญาเยถาติ,
ทำไฉน การกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้, จะพึงปรากฏชัดแก่เราได้,
สำหรับอุบาสกอุบาสิกาพึงสวด
จิระปะรินิพพุตัมปิตัง
ภะคะวันตัง สะระณัง คะโต(ตา),
เราทั้งหลายผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า, แม้ปรินิพพานนานแล้ว, พระองค์นั้นเป็นสรณะ,
ธัมมัญจะ สังฆัญจะ,
ถึงพระธรรมด้วย ถึงพระสงฆ์ด้วย,
ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง,
ยะถาสะติ ยะถาพะลัง มะนะสิ-กะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ,
จักทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่, ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ตามสติกำลัง,




สา สาโน ปะฏิปัตติ, อิมัสสะ
เกวะลัสสะ ทุขขักขันธัสสะ
อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ,
ขอให้ความปฏิบัตินั้น ๆ ของเราทั้งหลาย, จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุด, แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เทอญ.
สำหรับภิกษุสามเณรพึงสวด
จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง
ภะคะวันตังอุททิสสะ
อะระหันตัง สัมมาสัมพุทธัง,
เราทั้งหลาย อุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง, แม้ปรินิพพานนานแล้วพระองค์นั้น,
สัทธา อะคารัสมา
อะนะคาริยัง ปัพพะ ชิตา,
เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชจากเรือน, ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว,

ตัสมิง ภะคะวะติ พรัหมะจะริยัง
จะรามะ,
ประพฤติอยู่ซึ่งพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,

ภิกขูนัง สิกขา สาชีวะสะมาปัน-นา,
ถึงพร้อมด้วยสิกขา และธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิตของภิกษุทั้งหลาย

ตัง โน พรัหมะจะริยัง อิมัสสะ
เกวะลัสสะ, ทุกขักขันธัสสะ
อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ.
ขอให้พรหมจรรย์ ของเราทั้งหลายนั้น, จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้เทอญ.




กรวดน้ำตอนเช้า
(หัวหน้าขึ้นต่อไปว่า)
หันทะ มะยัง ปะฏิทานะคาถาโย ภะณามะ  เส
(แล้วสวดพร้อมกันว่า)
ยา เทวะตา สันติวิหาระวาสินี,
ถูเป ฆะเร โพธิฆะเร ตะหิง
ตะหิง,
เทพยดาทั้งหลายเหล่าใด,
มีปกติอยู่ในวิหาร, สิงสถิตที่เรือนพระสถูป, ที่เรือนโพธิ์ในที่นั้นๆ
ตา ธัมมะทาเนนะ ภะวันตุ
ปูชิตา, โสตถิง กะโรนเตธะ
วิหาระมัณฑะเล,
เทพยดาทั้งหลายเหล่านั้น, เป็นผู้อันเราทั้งหลาย, บูชาแล้วด้วยธรรมทาน, ขอจงทำซึ่งความสวัสดี, ความเจริญในมณฑลวิหารนี้,
เถรา จะ มัชฌา นะวะกา จะ
ภิกขะโว, สารามิกา ทานะปตี
อุปาสะกา,
พระภิกษุทั้งหลาย, ที่เป็นเถระก็ดี
ที่เป็นปานกลางก็ดี ที่เป็นผู้บวชใหม่ก็ดี, อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย,
คามา จะ เทสานิคะมา จะ
อิสสะรา,
สัปปาณะภูตา สุขิตา ภะวันตุ เต,




ที่เป็นทานบดี, พร้อมด้วยอารามิกชนก็ดี,
ชนทั้งหลายเหล่าใด, ที่เป็นชาวบ้านก็ดี, ที่เป็นชาวประเทศก็ดี, ที่เป็นชาวนิคมก็ดี, ที่เป็นอิสระเป็นใหญ่ก็

ดี, ขอชนทั้งหลายเหล่านั้น, จงเป็นผู้มีความสุขเถิด,
ชะลาพุชา เยปิ จะ
อัณฑะสัมภะวา,
สังเสทะชาตา
อะถะโวปะปาติกา,
สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นชลาพุชะ
กำเนิดก็ดี,
ที่เป็นอัณฑชะกำเนิดก็ดี, ที่เป็นสังเสทะชะกำเนิดก็ดี, ที่เป็นโอปาติกะกำเนิดก็ดี,
นิยยานิกัง ธัมมะวะรัง
ปะฏิจจะเต, สัพเพปิ ทุกขัสสะ
กะโรนตุ สังขะยัง,

สัตว์ทั้งหลาย แม้ทั้งปวงเหล่านั้น ได้อาศัยซึ่งธรรมอันประเสริฐ, เป็นนิยานิกะธรรม, ประกอบในอันผู้นำปฏิบัติ, ให้ออกไปจากสังสารทุกข์, จงกระทำซึ่งความสิ้นไป, พร้อมแห่งทุกข์เถิด,

ฐาตุ จิรัง สะตัง ธัมโม
ธัมมัทธะรา จะ ปุคคะลา,
ขอธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย, จงตั้งอยู่นาน, อนึ่ง ขอบุคคลทั้งหลาย, ผู้ทรงไว้ซึ่งธรรม, จงดำรงอยู่นาน,

สังโฆ โหตุ สะมัคโควะ
ขอพระสงฆ์จงมีความสามัคคี,




อัตถายะ จะ หิตายะ จะ,
พร้อมเพรียงกัน, ในอันทำซึ่งประโยชน์, และสิ่งอันเกื้อกูลเถิด.
อัมเห รักขะตุ สัทธัมโม สัพเพปิ ธัมมะจาริโน,
ขอพระสัทธรรม, จงรักษาไว้ซึ่งเราทั้งหลาย, แล้วจงรักษาไว้ ซึ่งบุคคลทั้งหลาย, ผู้ประพฤติซึ่งธรรมแม้ทั้งปวง,
วุฑฒิง สัมปาปุเณยยามะ
ธัมเม อะริยัปปะเวทิเต.
ขอเราทั้งหลาย, พึงถึงพร้อมซึ่งความเจริญ, ในธรรมที่พระอริยะ-

เจ้า, ประกาศไว้แล้วเถิด,
พึงเจริญพระกรรมฐานจนสว่างแล้ว กราบพระขอขมาแล้วพึงกราบพระ ๕ ครั้ง แล้วพึงทำความเคารพท่านประธานสงฆ์

คำทำวัตรเย็น
(คำบูชาพระ และปุพพภาคนมการใช้อย่างเดียวกับคำทำวัตรเช้า)
. พุทธานุสสติ
(หัวหน้ากล่าวนำว่า)
(หันทะ มะยัง พุทธานุสสะตินะยัง กะโรมะ  เส)
(แล้วรับพร้อมกันว่า)



ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง  เอวัง กัลยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต,
ก็กิตติศัพท์อันงามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ได้ฟุ้งไปแล้วอย่างนี้ว่า:
อิติปิโส ภะคะวา,
เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น;
อะระหัง
เป็นผู้ไกลจากกิเลส;
สัมมาสัมพุทโธ,
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ โดยพระองค์เอง;
วิชชาจะระณะสัมปันโน,
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ;
สุคะโต,
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี;
โลกะวิทู,
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง;
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ,
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า;

สัตถา เทวะมะนุสสานัง,
เป็นครูผู้สอน ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย;

พุทโธ,
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม;

ภะคะวา ติ.
เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้.



. พุทธาภิคีติ
(หัวหน้าขึ้นนำว่า)
(หันทะ มะยัง พุทธาภิคีติง กะโรมะ เส)
(แล้วรับพร้อมกันว่า)
พุทธวาระหันตะวะระตาทิ-
คุณาภิยุตโต,
พระพุทธเจ้า ประกอบด้วยคุณ, มีความประเสริฐแห่งอรหันตคุณ
เป็นต้น;
สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ
สะมาคะตัตโต,
มีพระองค์ อันประกอบด้วยพระญาณ และพระกรุณาอันบริสุทธิ์
โพเธสิ โย สุชะนะตัง
กะมะลังวะ สูโร,
พระองค์ใด ทรงกระทำชนที่ดีให้เบิกบาน, ดุจอาทิตย์ทำบัวให้บาน;
วันทามะหัง ตะมะระณัง สิระสา
 ชิเนนทัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระชินสีห์, ผู้ไม่มีกิเลสพระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า;
พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง
สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด, เป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย;
ปะฐะมานุสสะติฏฐานัง
วันทามิตัง สิเรนะหัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้า พระองค์นั้น, อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึก องค์ที่หนึ่งด้วยเศียรเกล้า,

พุทธัสสาหัสมิ ทาโส (ทาสี)
วะ พุทโธ เม สามิกิสสะโร,
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า, พระพุทธเจ้าเป็นาย มีอิสระเหนือข้าพเจ้า;
พุทโธ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ
วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
พระพุทธเจ้าเป็นเครื่องกำจัดทุกข์, และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า;
พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ
สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระพุทธเจ้า;
วันทันโตหัง (ตีหัง) จะริสสามิ
พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม, ซึ่งความตรัสรู้ดีของพระพุทธเจ้า;
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง
พุทโธ เม สะระณัง วะรัง,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระพุทธเจ้าเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า;

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
ด้วยการกล่าวคำสัจนี้, ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา;

พุทธัง เม วันทะมาเนนะ
(มานายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง
อิธะ,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ ซึ่งพระพุทธเจ้า, ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้,



สัพเพปิ อันตะรายา เม
มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.
อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า, ด้วยเดชแห่งบุญนั้น.
(พึงหมอบกราบขอขมาว่า)
กาเยนะ วาจายะ วะ
 เจตะสา วา,
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี;
พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง
มะยา ยัง,
กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระพุทธเจ้า;
พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ
อัจจะยันตัง,
ขอพระพุทธเจ้า จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น;
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ.
เพื่อการสำรวมระวัง ในพระพุทธเจ้า ในกาลต่อไป.

. ธัมมานุสสติ
(หัวหน้าขึ้นต่อไปว่า)
(หันทะ มะยัง ธัมมานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)
(แล้วรับพร้อมกันว่า)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว;



สันทิฏฐิโก,
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษา และปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง;
อะกาลิโก,
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่กำจัดกาล;
เอหิปัสสิโก,
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า, ท่านจงมาดูเถิด;
โอปะนะยิโก,
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว;
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ.
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตนดังนี้;

. ธัมมาภิคีติ
(หัวหน้าขึ้นต่อไปว่า)
(หันทะ มะยัง ธัมมาภิคีติง กะโรมะ เส)
(แล้วรับพร้อมกันว่า)
สวากขาตะตาทิคุณะโย
คะวะเสนะ เสยโย,
พระธรรม เป็นสิ่งที่ประเสริฐ เพราะประกอบด้วยคุณ, คือ ความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นต้น;
โย มัคคะปากะปะริยัตติ-
วิโมก ขะเภโท,
เป็นธรรมอันจำแนกเป็นมรรค ผลปริยัติและนิพพาน;

ธัมโม กุโลกะปะตะนา
ตะทะ ธาริธารี,
เป็นธรรมทรงไว้ ซึ่งผู้ทรงธรรม, จากการตกไปสู่โลกที่ชั่ว;

วันทามะหัง ตะมะหะรัง
วะระธัมมะเมตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรม อันประเสริฐนั้น, อันเป็นเครื่องขจัดเสียซึ่งความมืด;

ธัมโม โย สัพพะปาณีนัง
สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
พระธรรมใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย;

ทุติยานุสสะติฏฐานัง
วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น, อันเป็นที่ตั้ง แห่งความระลึกองค์ที่สอง ด้วยเศียรเกล้า;

ธัมมัสสาหัสมิ ทาโส (ทาสี)
วะ ธัมโม เม สามิกิสสะโร,
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระธรรม, พระธรรมเป็นนาย มีอิสระเหนือข้าพเจ้า;
ธัมโม ทุกขัสสะ ฆาตา จะ
วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดทุกข์, และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า;
ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมิ
สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระธรรม;




วันทันโตหัง (ตีหัง)
จะริสสามิ ธัมมัสเสวะ
สุธัมมะ ตัง,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ จักประพฤติตาม, ซึ่งความเป็นธรรมดีของพระธรรม,
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง
ธัมโม เม สะระณัง วะรัง,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระธรรมเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า;
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
ด้วยการกล่าวคำสัจนี้, ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา;
ธัมมัง เม วันทะมาเนนะ
(มานายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ ซึ่งพระธรรม, ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้
สัพเพปิ อันตะรายา เม
มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.
อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า, ด้วยเดชแห่งบุญนั้น,

(พึงหมอบกราบขอขมาว่า)
กาเยนะ วาจายะ วะ
เจตะสา วา,
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี;




ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง
 มะยา ยัง,
กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระธรรม;
ธัมโม ปะฏิคคัณหะตุ
อัจจะยันตัง,
ขอพระธรรม จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น;
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ
ธัมเม,
เพื่อการสำรวมระวัง ในพระธรรม ในกาลต่อไป.
สังฆานุสสติ
(หัวหน้าขึ้นต่อไปว่า)
(หันทะ มะยัง สัมฆานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)
(แล้วรับพร้อมกันว่า)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต
สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, หมู่ใดปฏิบัติดีแล้ว;

อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต
สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, หมู่ใดปฏิบัติตรงแล้ว;

ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต
สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า. หมู่ใดปฏิบัติเพื่อรู้ธรรม เป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว;



สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต
สาวะกะสังโฆ,
ยะทิทัง,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, หมู่ใดปฏิบัติสมควรแล้ว
ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ;
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ
ปุริสะปุคคะลาเอสะ
ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า;
อาหุเนยโย,
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา;
ปาหุเนยโย,
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ;
ทักขิเณยโย,
อัญชะลีกะระณีโย,
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน;
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี;
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง
โลกัสสา ติ.
เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.





. สังฆาภิคีติ
(หัวหน้าขึ้นต่อไปว่า)
(หันทะ มะยัง สังฆาภิคีติง กะโรมะ เส)
(แล้วรับพร้อมกันว่า)
สัทธัมมะโช
สุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต,
พระสงฆ์ที่เกิดโดยพระสัทธรรม, ประกอบด้วยคุณ มีความปฏิบัติดี เป็นต้น;
โยฏฐัพพิโธ อะริยะปุคคะละ
สังฆะเสฏโฐ,
เป็นหมู่แห่งพระอริยะบุคคลอันประเสริฐ แปดจำพวก;
สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะ-
กายะจิตโต,
มีกายและจิตอันอาศัยธรรม, มีศีล เป็นต้น อันบวร,
วันทามะหัง ตะมะริยานะคะณัง
สุสุทธัง,
ข้าพเจ้าไหว้หมู่แห่งพระอริยเจ้าเหล่านั้น, อันบริสุทธิ์ด้วยดี;
สังโฆ โย สัพพะปาณีนัง
สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
พระสงฆ์หมู่ใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด ของสัตว์ทั้งหลาย;
ตะติยานุสสะติฏฐานัง
วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น, อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่สาม ด้วยเศียรเกล้า;


สังฆัสสาหัสมิ ทาโส (ทาสี)
วะ สังโฆ เม สามิกิสสะโร,
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระสงฆ์พระสงฆ์เป็นนาย อิสระเหนือข้าพเจ้า;
สังโฆ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ
วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
พระสงฆ์เป็นเครื่องกำจัดทุกข์, และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า;
สังฆัสสาหัง นิยยาเทมิ
สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระสงฆ์;
วันทันโตหัง (ตีหัง) จะริสสามิ
สังฆัสโส (เส) ปะฏิปันนะตัง,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ จักประพฤติตาม ซึ่งความปฏิบัติดีของพระสงฆ์;
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง
สังโฆ เม สะระณัง วะรัง,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระสงฆ์เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า;
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
ด้วยการกล่าวคำสัจนี้, ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา;
สังฆัง เม วันทะมาเนนะ
(มานายะ) ยัง ปุญญัง
ปะสุตังอิธะ;
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระสงฆ์, ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้;


สัพเพปิ อันตะรายา เม
มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.
อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น.
(พึงหมอบกราบขอขมาว่า)
กาเยนะ วาจายะ วะ
เจตะสา วา,
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี;
สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง
มะยา ยัง,
กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระสงฆ์;
สังโฆ ปะฏิคคัณหะตุ
อัจจะยันตัง,
ขอพระสงฆ์จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น;
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ
สังเฆ.
เพื่อการสำรวมระวังในพระสงฆ์ในกาลต่อไป.

ทสธรรมสูตร
ทะสะ อิเม ภิกขะเว ธัมมา
ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง
ปัจจะเวกขิตัพพัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ธรรม ๑๐ ประการนี้ บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ,
กะตะเม ทะสะ,
ธรรม ๑๐ ประการนั้น เป็นอย่างไร?


     () เววัณนิยัมหิ
อัชชูปะคะโตติ,
ปัพพะชิเตนะ, อะภิณหัง
ปัจจะเวกขิตัพพัง,
บรรพชิตควรจะพิจารณาเนือง ๆ ว่า, บัดนี้เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว, อาการกิริยาใดของสมณะ เราจะต้องทำอาการกิริยานั้นๆ

     () ปะระปะฏิพัทธา เม
ชีวิกาติ, ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง
ปัจจะเวกขิตัพพัง,
บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า, การเลี้ยงชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่น, เราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย,
     () อัญโญ เม อากัปโป
กะระณีโยติ, ปัพพะชิเตนะ
อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง,
บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า, อาการกายวาจาอย่างอื่นที่เราจะต้องทำให้ดียิ่งขึ้นไปกว่านี้, ยังมีอยู่อีก มิใช่แต่เพียงเท่านี้,
     () กัจจิ นุโข เม
อัตตะสีละโต นะ อุปะวะทันตีติ,
ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง
ปัจจะเวกขิตัพพัง,
บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า, ตัวของเราเองติเตียนตัวเราเองโดยศีลได้หรือไม่
     () กัจจิ นุโข มัง อนุวิจจะ
วิญญู สะพรหมะจารี สีละโต

นะ อุปวทันตีติ, ปัพพะชิเตนะ
อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง,
บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า, เพื่อนสพรหมจารีผู้รู้ใคร่ครวญแล้ว, ติเตียนตัวเราเองโดยศีล ได้หรือไม่,

      () สัพเพหิ เม ปิเยหิ มะนา-
เปหิ นานาภาโว วินาภาโวติ,
ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง
บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า, เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น,
ปัจจะเวกขิตัพพัง,


     () กัมมัสสะโกมหิ
กัมมะทายาโท, กัมมะโยนิ
กัมมะพันธุ กัมมะปะฏิสะระโณ,
ยัง กัมมัง กะริสสามิ กัลยาณัง
วา, ปาปะกังวา ตัสสะ ทายาโท
ภะวิสสามีติ ปัพพะชิเตนะ
อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง,
บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆว่า, เรามีกรรมเป็นของตัวเป็นผู้รับผลของกรรมมีกรรมเป็นกำเนิด, มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย, เราทำดีจักได้ดี เราทำชั่วจักได้ชั่ว, เราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น.

     () กะถัมมะภูตัสสะ เม
รัตตินทิวา วิติปะตันตีติ,
ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง
ปัจจะเวกขิตัพพัง,
บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆว่า, วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่,



     () กัจจิ นุโขหัง สุญญา คาเร
อะภิระมามีติ, ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง,
บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆว่า, เรายินดีในที่สงัดหรือไม่,

    (๑๐) อัตถิ นุโข เม
อุตตะริมะนุสสะธัมมา, อะละมะริ
ยา ญาณะทัสสะนะวิเสโส
อะธิคะโต, โสหัง ปัจฉิเม กาเล
สะพรหมะจารีหิ ปุฏโฐ นะ
มังกุ ภะวิสสามีติ, ปัพพะชิเตนะ
อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง
บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆว่า, คุณวิเศษของเรามีอยู่หรือไม่, ที่จะให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขินในเวลาเพื่อนบรรพชิตถามในกาลภายหลัง

อิเมโข ภิกขะเว ทะสะ ธัมมา,
ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง
ปัจจะเวกขิตัพพังติ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ธรรม ๑๐ ประการนี้แล บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ดังนี้แล,
กรวดน้ำตอนเย็น
อุททิสสนาธิฏฐานคาถา
(หัวหน้าขึ้นต่อไปว่า)
หันทะ มะยัง อุททิสสนาธิฏฐานะคาถาโย ภะณามะ เส
(แล้วรับพร้อมกันว่า)

อิมินา ปุญญะกัมเมนะ
ด้วยบุญนี้ อุทิศให้
อุปัชฌายา คุณุตตะรา
อุปัชฌาย์ผู้เลิศคุณ

อาจะริยูปะการา จะ
แลอาจารย์ ผู้เกื้อหนุน

มาตา ปิตา จะ ญาตะกา
ทั้งพ่อแม่ แลปวงญาติ

สุริโย จันทิมา ราชา
สูรญ์จันทร์ แลราชา

คุณะวันตา นะราปิ จะ
ผู้ทรงคุณ หรือสูงชาติ

พรหมะมารา จะ อินทา จะ
พรหมมารและอินทราช

โลกะปาลา จะ เทวะตา
ทั้งทวยเทพ และโลกบาล

ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ
ยมราช มนุษย์มิตร

มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ
ผู้เป็นกลาง ผู้จ้องผลาญ

สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ
ขอให้เป็นสุขศานติ์ ทุกทั่วหน้า
อย่าทุกข์ทน

ปุญญานิ ปะกะตานิ เม
บุญผองที่ข้าพเจ้าทำจงช่วยอำนวยศุภผล

สุขัง จะ ติวิธัง เทนตุ
ให้สุขสามอย่างล้น

ขิปปัง ปาเปถะ โวมะตัง
ให้บรรลุถึงนิพพานพลัน

อิมินา ปุญญะกัมเมนะ
ด้วยบุญนี้ ที่เราทำ

อิมินา อุททิสเสนะ จะ
แลอุทิศให้ปวงสัตว์


ขิปปาหัง สุละเภ เจวะ
เราพลันได้ซึ่งการตัด
ตัณหุปาทานะ เฉทะนัง
ตัวตัณหา อุปาทาน
เย สันตาเน หินา ธัมมา
สิ่งชั่วในดวงใจ
ยาวะ นิพพานะโต มะมัง
กว่าเราจะถึงนิพพาน
นัสสันตุ สัพพะทา เยวะ
มลายสิ้น จากสันดาน

ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว
ทุก ๆ ภพที่เราเกิด

อุชุจิตตัง สะติปัญญา
มีจิตตรงและสติ ทั้งปัญญา
อันประเสริฐ

สัลเลโข วิริยัมหินา
พร้อมทั้งความเพียรเลิศ เป็นเครื่องขูดกิเลสหาย

มารา ละภันตุ โนกาสัง

กาตุญจะ วิริเยสุ เม
โอกาสอย่าพึงมีแก่หมู่มารสิ้น
ทั้งหลาย
เป็นช่องประทุษร้าย ทำลายล้างความเพียรจม

พุทธาธิปะวะโรนาโต
พระพุทธผู้บวรนาถ

ธัมโม นาโถ วะรุตตะโม
พระธรรมเป็นที่พึ่งอันอุดม

นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ
สังโฆ มาโถตตะโร มะมัง
พระปัจเจกะ พุทธสมทบ
พระสงฆ์ที่พึ่งผยอง



เตโสตตะมานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพนั้น
มาโรกาสัง ละภันตุมา
ขอหมู่มารอย่าได้ช่อง
ทะสะปุญญานุภาเวนะ
ด้วยเดชบุญทั้งสิบป้อง
มาโรกาสัง ละภันตุมา
อย่าเปิดโอกาสแก่มาร (เทอญ)

คำชักผ้าป่า
อิมัง ปังสุกูละ จีวะรัง อัสสามิกัง มัยหัง ปาปุณาติ.
ผ้าบังสุกูลผืนนี้ เป็นผ้าไม่มีเจ้าของหวงแหน ย่อมถึงแก่ข้าพเจ้า.

วิธีนั่งสมาธิ โดย เขมโกภิกขุ
            ผู้ฝึกสมาธินั้น พึงนั่งขัดสมาธิ โดยเอาเท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า อย่าพึงนั่งเอียงซ้ายเอียงขวาก้มหน้าก้มหลัง หรือคอเอียงอย่างนี้ก็มิควร เพราะอาการเช่นนั้นเป็นการผิดหลักการนั่งสมาธิพึงแต่งกายให้สวยงาม ประดุจรูปของพระพุทธรูปที่นั่งอยู่ พยายามนั่งให้เหมือนกับพระพุทธรูปทุกอย่าง มนสิการไว้ในใจว่า เรากำลังสร้างองค์พระให้เกิดขึ้นภายในกายของเรา ทำอะไรก็ให้เหมือนพระ แล้วก็น้อมพระเข้ามาหาตน พระไม่ได้อยู่ที่ไหน อยู่ที่กายใจของเรานี้เอง



การกำหนดกรรมฐาน
            ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ใจ ระลึกถึงพระธรรมเจ้าอยู่ที่ใจ ระลึกถึงพระสงฆ์เจ้าอยู่ที่ใจ แล้วพึงพิจารณาดูว่า กายของเราอยู่ในลักษณะเช่นไร พยายามดูตั้งแต่ศีรษะไปจนถึงปลายเท้า ดูกลับไปกลับมาเป็นอนุโลมปฏิโลมอยู่สักพักหนึ่ง แล้วหลับตาพิจารณาทบทวนอีก จนเกิดความรู้ชัดในสภาพร่างกายตั้งอยู่ในลักษณะเช่นไร พึงสำรวมจิตให้มาคอยกำหนดทำความรู้อยู่ที่ลมหายใจเข้า-ออกอยู่ตรงปลายจมูกหรือตรงท้องน้อยเหนือสะดือ 2 นิ้ว ตามแต่ที่เราถนัด หายใจเข้าพึงภาวนาว่า     พุทหายใจออกภาวนาว่า โธแรกนั้นการปฏิบัติพึงกำหนดลมหายใจเข้า-ออกยาว ๆ เพราะสติยังอ่อนอยู่  ขณะที่นั่งอยู่นั้นกายสงบก็ทำความรู้ว่า กายสงบใจสงบก็ทำความรู้ว่า ใจสงบสงบอยู่อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ทำความรู้อยู่ตลอดเวลา, สุขเกิดก็รู้ ทุกข์เกิดก็รู้ ไม่สุขไม่ทุกข์ เกิดขึ้นก็รู้  ทำความรู้ทั้งกายใจอยู่อย่างนี้ บางครั้งทุกข์กายแต่สุขใจก็มี คิดดีก็รู้ รู้แล้วเฉย คิดชั่วก็รู้ รู้แล้วเฉยอะไรที่เกิดขึ้นทุกอย่าง ทำความเฉยให้เกิดขึ้นตลอดเวลา ทำเฉย ๆ ให้มากเท่าไรยิ่งดี จิตจะได้ตั้งมั่นได้รวดเร็ว ถ้าเกิดอาการหาวนอน พึงทำความร่าเริงบันเทิงในลมหายใจเข้า-ออกอยู่นาน ๆ เข้าจิตก็เกิดสมาธิแนบแน่นจนกายเบาจิตเบา หรือขณะทำจะกำหนดดูใบหน้าของเราก็ได้ ให้เห็นรูปใบหน้าเหมือนกับเราส่องกระจกเงา หรือเอาจิตไปตั้ง

ตรงระหว่างคิ้วก็ได้ ที่เรียกว่าจุดนิโรธสัจจะ หรือเอาจิตพิจารณาไปในกาย ดูตามกะโหลกศีรษะ ตามกระดูกสันหลัง หรือในปัญจกรรมฐานคือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง แล้วแต่อัชฌาสัยของผู้ปฏิบัติว่าชอบอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเอาอย่างเดียว, แล้วพึงทำให้บ่อย ๆ เข้า ก็จะเกิดความรู้ความเห็นได้ และก็จะหมดความสงสัยในพระรัตนตรัยโดยสิ้นเชิง.

การออกจากสมาธิ
            ถอนจิตออกจากอารมณ์แล้วค่อย ๆ เคลื่อนมือขวาออกมาทับเข่าขวา แล้วมือซ้ายก็เช่นเดียวกัน ค่อย ๆ น้อมมือทั้ง ๒ พนมตรงหน้าอก แล้วยกจดศีรษะ แล้ววางมือตามปกติได้ในขณะนั้นให้หลับตา มองดูมือที่ค่อย ๆ เคลื่อนนั้นให้เห็นด้วยการมีสติสัมปชัญญะเต็มที่

            "เป็นผู้เจริญต้องหัดชนะ นอนก็ทำ ยืนก็ทำ เดินก็ทำ เว้นแต่เผลอ พอเผลอแล้วนึกขึ้นได้ก็ทำอีก"
                                                                                         เขมโกวาท.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

OK